หน้าหลัก
/ เกี่ยวกับเรา / รางวัลและการรับรอง /
มาตรฐานรับรองการรักษาระดับสากล JCI โปรแกรมการตรวจรักษาโรคหลอดเลือดสมอง หรือ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต (Stroke)

รายละเอียดทั่วไปเกี่ยวกับโรค

โรคหลอดเลือดสมอง หรือ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต (Stroke) เป็นโรคที่พบบ่อย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เมื่อเกิดโรคแล้วจะก่อทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ทางระบบประสาท ผู้ป่วยมักมีอาการทันทีทันใด แต่จะใช้เวลาในการฟื้นตัวค่อนข้างนาน จึงเป็นความหนักใจต่อตัวผู้ป่วยเองและต่อญาติหรือผู้ดูแล

เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองให้มีประสิทธิภาพ ตามมาตรฐานสากล จึงได้จัดทำ Clinical Pathway for Acute Stroke นี้ขึ้น

พันธกิจของ Stroke Program

มุ่งมั่นให้การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบองค์ รวมด้วยความใส่ใจและตอบสนองความต้องการ พร้อมทั้งพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่อง โดยทีมแพทย์เฉพาะทางและทีมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ

เป้าหมายของ Stroke Program

เราให้การดูแลรักษาด้วยคุณภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย

วัตถุประสงค์ของ Stroke Program

  • เพื่อเป็นมาตรฐานในกระบวนการดูแลและให้การดูแลอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
  • เป็นแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
  • เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในกระบวนการดูแลรักษา
  • ให้ข้อมูลในเรื่องความรู้และการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยและญาติเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
  • มีการประเมินผลและจัดการในกระบวนการและผลลัพธ์

กลุ่มเป้าหมาย

  • ผู้ป่วยอายุมากกว่า 18 ปี
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็น Ischemic stroke หรือ Intracrebral hemorrhage, Subarachnoid hemorrhage ภายใน 7 วัน
  • ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือ หลอดเลือดสมองผิดปกติตีบหรือแตก (TIA) ครอบคลุมโรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง, หัวใจเต้นผิดปกติ, สูบบุหรี่, มีประวัติครอบครัวเป็น Stroke

นิยาม

  • Acute Stroke:โรคที่มีสาเหตุจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ซึ่งมีผลทำให้เกิดอาการทางสมองอย่างเฉียบพลันโดยที่อาการนั้นอยู่นานกว่า 24 ชั่วโมง
  • Acute Stroke Care Flow Sheet: แบบฟอร์มแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ในกรณีรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล
  • Stroke Fast Track: แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลันในผู้ป่วยที่มีอาการ และมาภายใน 3 ชั่วโมง หลังเกิดอาการ
  • Clinical Pathway for Acute Stroke: แนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเฉียบพลันที่มีอาการ ภายใน 7 วันหลังเกิดอาการ
  • Stroke Coordinator Nurse: พยาบาลประสานงานโรคหลอดเลือดสมอง
  • Stroke Unit: หอผู้ป่วยที่ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้แก่ ICU2 , Ward 6D ขึ้นอยู่กับอาการผู้ป่วยและตามการวินิฉัยของแพทย์
  • Stroke Core Team: Stroke Program Director ,Stroke Coordinator Nurse,พยาบาล ward 6D, พยาบาล ICU2, พยาบาลห้องฉุกเฉิน,พยาบาลศูนย์สมอง
  • N/A: ไม่เกี่ยวข้องกับข้อ/เรื่องนั้น ๆ

เกณฑ์การเลือกผู้ป่วยเข้า Pathway (Key decision point)

  1. แนวทางนี้ครอบคลุมในกรณี ดังต่อไปนี้
    1. ผู้ป่วยที่สงสัยหรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Stroke ( TIA, Ischemic stroke , Intracerebral hemorraghe, Subarachnoid hemorrhage ) ภายใน 7 วัน นับจากวันที่เริ่มมีอาการ
    2. ผู้ป่วยมีอาการหรืออาการแสดงถึงภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
      • อาการอ่อนแรงด้านใดด้านหนึ่งของร่างกายโดยทันที
      • อาการชาด้านใดด้านหนึ่งของร่างกายโดยทันที
      • อาการพูดช้า , พูดไม่ชัด, พูดไม่ออก
      • การมองเห็นพร่าเลือนโดยทันทีทันใด
      • อาการวิงเวียนศีรษะโดยไม่ทราบสาเหตุโดยทันทีทันใด
      • อาการปวดศีรษะรุนแรงโดยทันทีทันใด
    3. ผู้ป่วยที่ย้ายมาจากโรงพยาบาลอื่น เพื่อรับการดูแลรักษาเรื่องโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันต่อเนื่อง
    4. Pathway อาจจะเริ่มต้นที่แผนกฉุกเฉิน หรือหอผู้ป่วยใน โดยแพทย์ หรือพยาบาล เป็นผู้นำมาใช้
  2. แนวทางนี้ไม่ครอบคลุมในกรณี ดังต่อไปนี้
    1. ผู้ป่วยที่สงสัยหรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Stroke ที่มีอาการมา มากกว่า 7 วัน นับจากวันที่เริ่มมีอาการ
    2. ผู้ป่วยปฏิเสธการรักษา หรือเสียชีวิต
    3. ผู้ป่วยที่มีอาการเริ่มต้นคล้าย Acute Stroke แต่เมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้วสรุปว่าไม่ใช่ Stroke เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ, ก้อนเนื้องอก, เป็นฝีสมอง
    4. ผู้ป่วย Hemorraghe stroke มีก้อนเลือดในชั้น Subdural
    5. ผู้ป่วยที่สงสัยหรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น Venus thrombosis

การวินิจฉัยและการรักษา

  1. ผู้ป่วยมีอาการน้อยกว่า 3 ชั่วโมง เข้า Stroke Fast Track (Thrombolysis possible)
    1. ปฏิบัติตาม Stroke Pathway Order for onset < 3 hrs.(F/M-02.1-MSO-032)
    2. Checklist for r-tPA (F/M-02-MSO-017)
    3. กรณีแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าสามารถให้ยา rt-PA ได้ ให้ปฏิบัติตาม Stroke Pathway Order for r-tPA (F/M-02.1-MSO-032)
    4. กรณีที่รับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลให้ปฏิบัติตาม Clinical Pathway For Acute Stroke Care Flowsheet (F/M-02.1-MSO-021)
  2. ผู้ป่วยมีอาการมากกว่า 3 ชั่วโมง – 7วัน :
    1. ปฏิบัติตาม Stroke Pathway Order for onset > 3 hrs.- 7 Days (F/M-02.1-MSO-033)
    2. กรณีที่รับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลให้ปฏิบัติตาม Clinical Pathway for Acute Stroke Care Flowsheet (F/M-02.1-MSO-021)
  3. ผู้ป่วยที่สงสัย SAH/ICH
  4. ผู้ป่วยที่สงสัยว่ามีภาวะเลือดออกใน Subarachnoid
    1. มีอาการทางคลินิก 2 ใน 3 อย่างต่อไปนี้
      • ปวดศีรษะ : ความบกพร่องทางระบบประสาท
      • ระดับการรู้สึกตัว : อาจจะปรากฎหรือไม่ปรากฎอาการ
      • คอแข็ง: อาจจะปรากฎหรือไม่ปรากฎอาการ
      • มีคลื่นไส้อาเจียน
    2. การแบ่งแยกอาการปวดศีรษะออกจากอาการปวดแบบปกติคือ อาการปวดเริ่มต้นรุนแรง เกิดขึ้นทันทีทันใด หากเข้าตามเกณฑ์ปฏิบัติดังนี้
      1. ทำ CT Brain ทันที
      2. ปรึกษาศัลยแพทย์ประสาท
      3. รับเข้าหอผู้ป่วยวิกฤติระบบประสาท (ICU2)
      4. ดูแลตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยมีเลือดออกในสมอง (Acute hemorrhage stroke)
        • Subarachnoid hemorrhage ที่มีอาการมาภายใน 7 วัน ให้การดูแลรักษาตามแนวทางของ Clinical Pathway for Acute Stroke
        • Intracerebral hemorrhage ที่มีอาการมาภายใน 7 วันให้การดูแลรักษาตามแนวทางของ Clinical Pathway for Acute Stroke
        • Intracerebral hemorrhage, Subarachnoid hemorrhage ที่มีอาการมามากกว่า 7 วันให้การดูแลรักษา ตามแผนการรักษาของแพทย์ และมาตรฐานการบริการของโรงพยาบาล

แนวทางการดูแล

  1. เมื่อพบผู้ป่วยที่มีอาการ Onset within 3 hrs. เข้าตามเกณฑ์ที่กำหนด ให้ปฏิบัติตาม Stroke Alert
  2. กรณีที่รับเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลให้ปฏิบัติตาม Clinical Pathway for Acute Stroke Care Flowsheet (F/M-02.1-MSO-021) ซึ่งครอบคลุม แผนการให้การรักษาพยาบาล 7 วัน ซึ่งครอบคลุมสหสาขาวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียด ดังนี้ Assessment, Investigation, Consultantaion, Intervention Nutrition, Patient and family education, Discharge planning, Expected outcome

การให้คำแนะนำ

  1. stroke education ที่ผู้ป่วย Stroke ต้องได้รับคือ
    1. ต้องการได้รับการติดตามอาการภายหลังการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
    2. Activate EMS: การติดต่อแหล่งประโยชน์เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน เช่น เบอร์โทรศัพท์ของโรงพยาบาลใกล้บ้าน,Contact center โรงพยาบาลกรุงเทพ1719
    3. ปัจจัยเสี่ยงส่วนบุคคล
    4. ข้อมูลของยาที่ต้องรับประทาน ประโยชน์ที่ได้รับ, วิธีรับประทาน, ผลข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้นได้
    5. การเฝ้าระวังสัญญาณ และอาการของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  2. อื่นๆ เช่น
    1. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร, สาเหตุของการเกิดโรค, การรักษา, ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค, อาการแสดงของโรค และอาการเตือนที่ต้องรีบมโรงพยาบาล, การป้องกันโรค, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การรับประทานอาหาร, การงดสูบหรี่,การออกกำลังกาย
    2. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลการตรวจต่างๆ ขณะที่อยู่โรงพยาบาล และแผนการรักษาของแพทย์
    3. การฟื้นฟูร่างกาย

การวางแผนกลับบ้าน (Discharge Planning)

  1. ประเมินความพร้อมของผู้ป่วย ได้แก่
    • สัญญาณชีพ และอาการทางระบบประสาท
    • กิจวัตรประจำวัน
    • สภาวะทางด้านอารมณ์และจิตใจ
    • อาหารและยา
    • การสื่อสาร
    • การรับรู้
    • การขับถ่าย
    • การเคลื่อนไหว
    • ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  2. ประเมินความพร้อมของครอบครัว/ผู้ดูแล ในเรื่อง
    • ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค ความก้าวหน้าของโรค
    • ความพร้อมด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม และเศรษฐกิจ
    • สภาพสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการดูแลผู้ป่วย
    • ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยและแรงสนับสนุนทางสังคม
  3. วางแผนการให้ความรู้และฝึกทักษะที่จำเป็นแก่ผู้ป่วย ครอบครัวและผู้ดูแล ก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลให้ครอบคลุม
    • ข้อมูลเกี่ยวกับยาที่ผู้ป่วยได้รับกลับบ้าน ได้แก่ ชื่อยา,การออกฤทธิ์, ประโยชน์, ขนาดที่ใช้,ความถี่, การเก็บรักษา, ฤทธิ์ข้างเคียงของยา, ปฏิกิริยาระหว่างยากับอาหาร หรือยาตัวอื่น
    • หัตถการที่จำเป็น ได้แก่ การดูดเสมหะ, การเคาะปอด, การให้อาหารทางสายยาง,การทำอาหารปั่น, การดูแลผู้ปวยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ
    • การช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวันและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ การทำความสะอาดร่างกาย, การดูแลความสะอาดช่องปาก,การชำระล้างบริเวณทวารหนัก,การดูแลการขับถ่าย อุจจาระ, การดูแลผิวหนัง, การดูแลระบบทางเดินหายใจ
    • การเตรียมสภาพแวดล้อม ได้แก่ การทำทางลาดให้รถเข็นผ่านได้, มีราวบันไดสำหรับเกาะเดิน, พื้นบ้านควรมีระดับเท่ากันและไม่ควรลื่นเกินไปหรือปูพรมหนายากแก่เข็นรถ เข็น, ห้องน้ำห้องส้วมควรมีราวสำหรับเกาะพยุงตัวเอง
    • การฟื้นฟูร่างกายโดยการทำกายภาพและกิจกรรมบำบัด ได้แก่ การจัดท่านอนที่ถูกต้อง, การเคลื่อนไหวบนเตียง,การเคลื่อนย้ายจากเตียงมารถเข็นหรือเก้าอี้ และจากรถเข็นหรือเก้าอี้ไปที่เตียง, การออกกำลังกายให้ผู้ป่วย (Passive exercise) และผู้ป่วยออกกำลังกายด้วยตนเอง (Active exercise), การดูแลผู้ป่วยที่บกพร่องด้านการสื่อความหมาย
    • การสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท, การมาพบแพทย์ตามนัด และหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน
  4. ประสานการดูแลร่วมทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เช่น แพทย์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, นักโภชนาการ, เภสัชกร, พยาบาลประสานงานโรคหลอดเลือดสมอง, นักจิตวิทยา
    • การติดตามผู้ป่วยมาตรวจตามนัด
    • กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรักษาต่อเนื่องที่รพ.ได้ ให้ส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยให้กับโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยจะไปรับการรักษาต่อเนื่อง ได้แก่ Medical summary, รายงานผลตรวจวิเคราะห์, ฟิล์มเอกซเรย์พร้อมผลอ่านไปกับผู้ป่วยด้วย

สถานที่ที่ให้บริการ (Service Counter)
กรณีฉุกเฉิน: แผนกผู้ป่วยฉุกเฉิน เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง
กรณีไม่ฉุกเฉิน: Brain center เปิดให้บริการ 08:00 – 16:00 ทุกวัน


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์สมอง หรือพยาบาลประสานงานผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
โทร. 02-310-3011 หรือ 02-310-3268
Contact Center โทร.1719 (24 ชม.)
Email: [email protected]

รางวัลและการรับรอง ที่เกี่ยวข้อง