หน้าหลัก
/ บทความสุขภาพ / โรคและการรักษา /
อ่านหนังสือห่างไกลอัลไซเมอร์ เกษียณตัวเองแต่อย่าเกษียณสมอง

 

การอุบัติของโรคร้ายที่คร่าชีวิตมนุษย์ แบบไม่รู้ตัวและรู้ตัว เริ่มขยายลุกลามมากขึ้น ๆ แม้บางโรคจะเริ่มควบคุมได้ แต่ก็มีโรคใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาทดแทน ค้นดูสาเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุดก็ต้องยกให้ “อุบัติเหตุ” รองลงมาคือ “โรคมะเร็ง” แต่ไม่อีกกี่ปีข้างหน้า โรคที่น่ากลัวพอ ๆ กับโรคมะเร็งจะเริ่มแสดงตัวชัดเจนขึ้นอย่าง “โรคสมองเสื่อม”

 

ดร. นพ.โยธิน ชินวลัญช์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านอายุรกรรมสมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพ อธิบายปรากฏการณ์โรคสมองเสื่อมที่จะเกิดกับคนไทย จะมีมากเท่ากับคนป่วยโรคมะเร็งเลยทีเดียว

นายแพทย์ระบบประสาทบอกว่า หากพบเป็นโรคสมองเสื่อมจะมีชีวิตอยู่ได้อีก 7-10 ปี โดยพบว่าคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป จะเป็นโรคสมองเสื่อม 10% ส่วนคนอายุ 85 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อม 40-50%

ตอนนี้ยังไม่มียารักษาโรคสมองเสื่อม มีเพียงแค่ยาชะลอเท่านั้น สำหรับคนที่ใช้สมองอยู่เรื่อย ๆ จะสมองเสื่อมช้ากว่าคนที่ไม่ได้ใช้สมองคิดอะไรเลย เราสามารถชะลอความเสื่อมของสมองโดยการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการทำงาน”

นพ.โยธิน ชี้แจงว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาทำการสำรวจพบว่า ปี 2000 พบคนเป็นโรคสมองเสื่อม 5 ล้านคน และในอีก 50 ปีข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นเป็น 15 ล้านคน เพราะทุก 5 ปี คนจะเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นเท่าตัว โดยจะพบมากในเพศหญิงเพราะอายุยืนกว่าเพศชาย

ตอนนี้คนไทยเป็นโรคสมองเสื่อมประมาณ ล้านคน คาดว่าในอีก ปี จะเพิ่มเป็น ล้านคน”

นายแพทย์โยธินบอกว่า เราต้องรู้เท่าทันโรคสมองเสื่อม เพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคสมองเสื่อม เพราะกว่าจะรู้ตัวก็จำอะไรไม่ค่อยได้แล้ว เพราะโรคสมองเสื่อมมีหลายแบบ บางคนมีภาวะสมองถดถอยแบบไม่รู้ตัว พอเกษียณหรือหยุดทำงานมีชีวิตได้อีก 1-2 ปีก็ตาย หรือบางคนอยู่บ้านปลูกต้นไม้อย่างเดียวก็อาจจะทำให้สมองเสื่อมได้

ดังนั้น คนสูงวัยจึงต้องหากิจกรรมทำหรือให้ทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมอง เช่น การอ่านหนังสือ การออกกำลังกาย และการฟังเพลง จะช่วยชะลอความเสื่อมของสมองได้

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถตรวจภาวะสมองเสื่อมได้ค่อนข้างแม่นยำโดยเจาะจงไปที่โรคอัลไซเมอร์ที่คนส่วนใหญ่กังวล กลัวว่าหากอายุมากขึ้นไม่อาจจะเลี่ยงจากโรคนี้ได้ เพราะเมื่ออายุมากขึ้น สมองของมนุษย์จะเริ่มเหี่ยวลง ทำให้สมองเล็กลง แต่จะสะสมสาร “เบต้าอมีลอยด์” เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสารนี้จะส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อเซลล์ประสาท ลดการเชื่อมโยงกันของเซลล์ประสาท ทำให้ความจำเสื่อม

การตรวจจับสารเบต้าอมีลอยด์ในสมองจึงเป็นหนทางที่จะคาดเดาได้ว่า คุณเริ่มเข้าสู่ภาวะเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือไม่ เพราะคนสูงอายุบางคนอาจจะไม่มีสารเบต้าอมีลอยด์ก็เป็นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเซลล์สมองของแต่ละคน เพราะบางคนสามารถมีชีวิตยืนยาวโดยไม่เป็นโรคอัลไซเมอร์ก็มี

ขณะนี้โรงพยาบาลกรุงเทพมีแล็บที่สามารถผลิตสารที่เข้าไปตรวจจับสารเบต้าอมีลอยด์ ผ่านเครื่อง Pet Scan หรือการสแกนด้วยรังสี เพื่อตรวจภาวะสมองเสื่อมได้ถึง 90% โดยไม่ต้องเจาะไขสันหลังแบบเดิม เพียงแต่ว่าอายุของสารตัวนี้สั้น จึงไม่สามารถส่งออกจากแล็บไปใช้ใน โรงพยาบาลทั่วไปได้และมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงอีกด้วย จึงอยากให้โรงเรียนแพทย์ในเมืองไทยทำการวิจัยต่อไป”

นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบประสาทเพิ่มเติมว่าหากเราสามารถวินิจฉัยความเสี่ยงที่ อาจจะทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้ทันเวลา ก็สามารถใช้ยาเข้าไปยับยั้งการแพร่กระจายของสารเบต้าอมีลอยด์ โอกาสที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ก็ลดลงไปด้วย

ดังนั้นคนที่มีภาวะความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ สามารถสำรวจตัวเองได้เบื้องต้น โดยเฉพาะคนที่ครอบครัวมีประวัติเป็นอัลไซเมอร์ต้องสันนิษฐานว่าเราก็มีโอกาส เสี่ยงเช่นเดียวกัน และผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปอยู่ในภาวะความจำถดถอย ก็มีโอกาสเสี่ยงเช่นเดียวกัน

หากเราทราบก่อนว่ามีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ จะได้วางแผนการใช้ชีวิต และการป้องกันโรคนี้ได้ดีที่สุดคือ เกษียณตัวเอง แต่อย่าเกษียณสมอง

 

บทความคลินิกความจำ