ภาวะเท้าแบนในเด็ก
ภาวะเท้าแบนเป็นหนึ่งในความผิดปกติที่พบได้บ่อยในมนุษย์และมีความสัมพันธ์กับคนไทยค่อนข้างมากจากสาเหตุของพันธุกรรม ทำให้รูปร่างของอุ้งเท้าจากเดิมที่มีแนวโค้ง 20 – 25 องศา การเรียงตัวของกระดูกทั้ง 26 ชิ้นสมบูรณ์เกิดการผิดรูป
การที่เท้ามีรูปร่างแบน ทำให้การรับน้ำหนักตัวทำได้ไม่ดี การเรียงตัวของแนวกระดูกผิดเพี้ยน ทำให้ส้นเท้าแบออก หัวเข่าบิดเข้าหากัน ภาวะที่เกิดขึ้นนี้จะถือว่าเป็นโรคก็ต่อเมื่อมีอาการแสดงออก ทันทีที่วัยล่วงเลยเข้าสู่อายุ 30 – 40 ปีขึ้นไป ซึ่งมักพบอาการเจ็บเส้นเอ็น ปวดน่อง ปวดเข่า ไม่สามารถออกแรงเดินได้เท่าคนในวัยเดียวกัน หรือเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ข้อเสื่อมตามมา
อาการดังกล่าวจะแสดงออกชัดเจนเมื่อกระดูกฟอร์มตัวสมบูรณ์และกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แรงกดอาจทำให้แผลที่เท้าเกิดขึ้นและรักษาได้ยาก อีกทั้งอาการเจ็บเท้าที่เกิดขึ้นจากการลงน้ำหนัก การทานยาลดการอักเสบบรรเทาอาการปวดอาจไม่ใช่คำตอบในการรักษาที่ถูกต้องนัก
แนวทางการรักษา
สมรรถนะร่างกายที่ปกติสร้างได้ ตั้งแต่ย่างก้าวแรกในวัยเด็ก ปัจจุบันวิทยาการทางการแพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โดยเทคนิค Pedographical Studies ค้น หาแรงเข้มข้นที่ทำให้เกิดความผิดปกติขึ้นกับเท้าด้วยวิธิพิมพ์รอยเท้าหรือใช้กล้องจับภาพความเร็วสูง ติดเซ็นเซอร์วัดจุดลงน้ำหนัก เพื่อตรวจสอบความผิดปกติที่เกิดขึ้นโดยละเอียดถึง 1,000 ครั้งต่อวินาที ซึ่งการตรวจวินิจฉัยรูปร่างเท้าสามารถค้นหาพยาธิกำเนิดทางชีวกลศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับแรงกระทำ เช่น หนังหนาแข็งที่ฝ่าเท้า ตาปลา จุดกดเจ็บ รอยช้ำ หากตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น สามารถแก้ไขรูปเท้าให้กลับมาเป็นปกติได้ โดยสร้างกายอุปกรณ์เสริมหรือตัวประกบ อาทิ แผ่นรองรองเท้าหรือรองเท้าบูธที่ออกแบบให้สัมพันธ์กับรูปเท้าของแต่ละคน
รองเท้าปรับสรีระ
รองเท้าเป็นหนึ่งในกายอุปกรณ์ที่ช่วยแก้ปัญหารูปเท้าแบนของเด็กให้กลับมามีสรีระใกล้เคียงกับรูปเท้าปกติ แต่จะต้องเป็นรองเท้าที่ออกแบบพิเศษให้เหมาะกับรูปเท้าของเด็กแต่ละคน ซึ่งมีความแตกต่างกัน
แผ่นรองรองเท้าสามารถช่วยกระจายแรงกดของน้ำหนักตัวและช่วยปรับให้เท้าที่แบนราบค่อย ๆ มีอุ้งเท้าปรากฏขึ้น เช่นเดียวกับรองเท้าบูธที่ออกแบบขึ้นเป็นพิเศษ มีอุปกรณ์เสริมที่ด้านในเพื่อช่วยยกและฟอร์มให้เท้าได้รูปทรง