อาการปวดหลัง ปวดคอ บ่า ไหล่ตามจุดต่าง ๆ ของร่างกายอาจไม่ใช่เรื่องเล็กอย่างที่คิด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่นิยมซื้อยามาทานเองหรือไปนวดกดจุด สุดท้ายเมื่ออาการปวดเรื้อรังและรุนแรงมากขึ้นอาจต้องลงเอยการรักษาด้วยการผ่าตัด ทั้งที่จริงแล้วการรักษาที่ได้มาตรฐานสากลยังมีกระบวนการในการรักษาอาการปวดได้อีกหลายขั้นตอน
ค้นหาจุดกำเนิดความปวด
ในเมืองไทยผู้ป่วยมักมาโรงพยาบาลเมื่ออาการค่อนข้างหนักแล้ว เมื่อไรก็ตามที่ปวดหลังจนทำให้กิจวัตรประจำวันเสียไป เช่น เคยนั่งโต๊ะทำงานได้เป็นชั่วโมงก็เริ่มไม่ไหว นั่งได้ 30 นาทีต้องลุกขึ้นมาบิดตัวไปมา ในระยะ 1 – 2 วันแรกคนไข้มักกินยาแก้ปวดแล้วอาจทุเลาลง เพราะส่วนใหญ่เกิดปัญหาที่กล้ามเนื้อ แต่หากการปวดหลังที่ลึกกว่าชั้นกล้ามเนื้อและเกี่ยวข้องกับเส้นประสาท ยาแก้ปวดอาจช่วยบรรเทาไม่ได้ อย่างไรก็ตามการกินยาแก้ปวดต่อเนื่องนาน ๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
ถ้าคนไข้มีอาการปวดหลังเรื้อรังมารับการรักษา แพทย์จะต้องรู้ให้ได้ว่าจุดกำเนิดของความปวดมาจากอวัยวะส่วนไหน การใช้ยารับประทานแก้ปวดจะทุเลาอาการได้ แต่สาเหตุของอาการปวดยังคงอยู่ อาการปวดก็จะกลับมาอีก นอกจากนี้การบรรยายถึงลักษณะอาการปวดยังแล้วแต่คำนิยามของคนไข้ เช่น ปวดแบบมดไต่ ปวดเหมือนโดนน้ำแข็งเย็น ๆ หรือปวดเหมือนโดนตะปูตำ แพทย์ต้องรับฟังและนำมาประมวลเพื่อประกอบการวินิจฉัยที่ถูกต้องให้ผู้ป่วยแต่ละราย
รักษาความปวดแบบองค์รวม
ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์
แต่เดิมเมื่อรักษาตามระดับความปวดแล้วอาการของผู้ป่วยกลับมาเป็นซ้ำ อาจเนื่องมาจากการดำรงชีวิตที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หรือการเสื่อมตามวัย ขั้นตอนสุดท้ายในการรักษาคือการผ่าตัด และด้วยข้อจำกัดทางเทคโนโลยีการแพทย์ในสมัยก่อนยังไม่เอื้ออำนวยและไม่ทันสมัยเท่าปัจจุบัน ในหลายกรณีคนไข้จึงยังไม่หายขาด ต้องบอบช้ำทั้งร่างกายและสภาพจิตใจที่แย่ลงเรื่อย ๆ เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์
ถึงแม้ว่าสุดท้ายแล้วคนไข้จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ผลการรักษาก็เป็นที่น่าพอใจมากขึ้น ด้วยความทันสมัยของเครื่องมือในการผ่าตัดกระดูกสันหลังที่ใช้กล้อง Microscope ที่มีกำลังขยายภาพสูงให้รายละเอียดมากขึ้นช่วยให้แพทย์มองเห็นเส้นประสาทและพยาธิสภาพที่ต้องการแก้ไขได้ชัดเจน สามารถผ่าตัดแบบแผลเล็กได้อย่างปลอดภัย มีระบบนำวิถี Stealth Navigation System ที่บอกตำแหน่งขณะกำลังผ่าตัดจริงได้ชัดเจนขึ้น รวมทั้งมีเครื่องมือติดตามการทำงานของระบบประสาทขณะผ่าตัด (Intraoperative Monitoring : IONM) เตือนแพทย์หากมีการแตะโดนเส้นประสาทขณะผ่าตัด ช่วยให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพมากขึ้น และด้วยเทคนิคการผ่าตัดและความจำเพาะเจาะจงโดยอาศัยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้น แผลผ่าตัดจึงเล็ก ใช้เวลาผ่าตัดสั้นลง เสียเลือดน้อยลง การฟื้นตัวจึงสั้นลงไปด้วย
การประสานงานร่วมกันของแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางในแต่ละด้านช่วยให้การวินิจฉัยได้ผลจำเพาะเจาะจงมากขึ้น คนไข้โรคกระดูกสันหลังมีทางเลือกในการรักษามากขึ้นตามลำดับอาการ เพราะหากรักษาไม่ถูกจุดหรือผ่าตัดเร็วหรือช้าไป อาการปวดย่อมไม่บรรเทา และยังอาจได้รับผลเสียเพิ่มขึ้น การดูเพียงภาพจากรังสีวินิจฉัยอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ Pain Intervention จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยวินิจฉัย นอกจากนั้นหลังจากผ่าตัดใส่โลหะเชื่อมกระดูกสันหลัง อาจทำให้การขยับร่างกายไม่คล่องตัวเหมือนเดิม แพทย์ Pain Intervention จึงตระหนักเสมอว่า คนไข้มารักษาเพราะปวดและทำกิจวัตรประจำวันไม่ได้ เมื่อเขาได้รับการผ่าตัดแล้ว Pain Interventionist จึงมีอีกหน้าที่หลักที่จะทำให้คนไข้กลับไปใช้ชีวิตตามปกติให้เร็วที่สุด
แพทย์มีหน้าที่รักษาความเดือดร้อนของคนไข้ ถ้าสามารถร่วมมือกับแพทย์สาขาอื่น ๆ ได้เพื่อช่วยกันทำให้คนไข้กลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น โดยให้การรักษาที่ถูกต้องถึงสาเหตุและเป็นไปตามขั้นตอน ถ้าทีมแพทย์มีความพร้อมตรงนี้ คนไข้ก็จะได้รับการรักษาที่ดีไปด้วย