หน้าหลัก
/ บทความสุขภาพ / โรคและการรักษา /
ไมเกรนไม่ใช่แค่ปวดศีรษะ

ไมเกรนเป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่มีความรุนแรงสูง ซึ่งอาการปวดไมเกรนไม่เพียงแต่ทำให้เกิดผลกระทบทางร่างกาย แต่ยังส่งผลกระทบในหลายด้านของชีวิต เช่น การเรียน การทำงาน การเข้าสังคม ครอบครัว เป็นต้น


อาการไมเกรนมีกี่ระยะ

อาการไมเกรนแบ่งได้เป็น 4 ระยะดังต่อไปนี้

  1. 1. ระยะนำ (Prodrome) อาการนำของไมเกรนพบได้มากถึง 50% อาจเกิดก่อนอาการปวดศีรษะนานถึง 48 ชั่วโมง โดยจากการศึกษาพบการทำงานที่ผิดปกติของสมองส่วนไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) ในช่วงที่เกิดอาการนำจากไมเกรน อาการที่พบบ่อย ได้แก่
    • อ่อนเพลีย
    • ปวดตึงคอ
    • อารมณ์เปลี่ยนแปลง
  2. 2. อาการเตือนหรือออร่า (Aura) พบประมาณ 25 – 30% เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของไฟฟ้าที่ผิวสมอง (Cortical Spreading Depression) มีอาการแสดงได้หลากหลาย เช่น
    • เห็นภาพระยิบระยับ เห็นเส้นซิกแซก เห็นภาพเป็นจุด เห็นเป็นคลื่น หรือภาพมืดมัว (Visual Aura)
    • อาการชายิบ ๆ ที่บริเวณมือและแขน หรือปากด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย (Sensory Aura)
    • ความผิดปกติทางการพูด (Dysphasic Aura)
      อาการออร่าจะค่อยๆเกิดขึ้นภายในระยะเวลามากกว่า 5 นาที แล้วค่อย ๆ หายไปภายใน 1 ชั่วโมง
  3. 3. ระยะปวดศีรษะ (Headache) อาการปวดศีรษะของไมเกรนมีหลายลักษณะ โดยตำแหน่งที่ปวดอาจเป็นด้านเดียวที่กระบอกตา ขมับ ท้ายทอย หรือปวดทั่วศีรษะได้ เช่น
    • ปวดตุ๊บ ๆ เหมือนเส้นเลือดเต้น
    • ปวดตื้อ ๆ หนัก ๆ หรือปวดแบบมีอะไรมาแทง
      อาการปวดมักจะรุนแรงมีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียนแพ้แสงและเสียงการเคลื่อนไหวของศีรษะจะทำให้อาการปวดเพิ่มมากขึ้นหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องระยะปวดศีรษะอาจยาวนานถึง 3 วัน
  4. 4. ระยะหลังปวดศีรษะ (Postdrome) พบอาการในระยะนี้ได้มากถึง 80% แต่อาการมักหายภายใน 24 ชั่วโมง อาการหลังปวดศีรษะที่พบบ่อย ได้แก่
    • อ่อนเพลีย
    • สมาธิไม่ดี
    • อารมณ์เปลี่ยนแปลง
    • ปวดตึงต้นคอ

ไมเกรนไม่ใช่แค่ปวดศีรษะ

อาการระยะที่ยังไม่เกิดไมเกรนเป็นอย่างไร

อาการที่มักเกิดขึ้นก่อนเป็นไมเกรน เป็นอาการในระยะที่ยังไม่เกิดอาการปวดศีรษะ (Interictal Phase) ได้แก่

  • เวียนศีรษะ: ผู้ป่วยอาจรู้สึกหมุนหรือโคลเคลงไม่มั่นคง
  • เมารถเมาเรือง่าย: ไวต่อการเคลื่อนไหว ในขณะเดินทางโดยรถหรือเรือ
  • ความจำไม่ดี: มีปัญหาในการจดจำ
  • ไวต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก: ไวต่อแสงจ้า เสียงดัง หรือกลิ่นฉุน
  • ความวิตกกังวล
  • อาการซึมเศร้า

ทำไมต้องพบแพทย์เมื่อเป็นไมเกรน

อาการของโรคไมเกรนไม่ได้มีเฉพาะอาการปวดศีรษะเพียงอย่างเดียว ยังมีอาการที่สืบเนื่องจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองในส่วนต่าง ๆ ดังนั้นการรับรู้ถึงอาการของโรคไมเกรนและสิ่งกระตุ้นที่อาจทำให้เกิดไมเกรน ช่วยให้จัดการกับโรคไมเกรนได้ดีขึ้น การดูแลรักษาที่เหมาะสมไม่เพียงช่วยลดอาการปวดศีรษะ แต่ยังช่วยลดอาการผิดปกติอื่น ๆ รวมทั้งเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในระยะยาว จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมโดยเร็ว


แพทย์ผู้ชำนาญด้านการรักษาไมเกรน

นพ.กีรติกร ว่องไววาณิชย์ อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล  โรงพยาบาลเพื่อกระดูกและสมอง 


โรงพยาบาลที่ชำนาญด้านการรักษาไมเกรน

ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล โรงพยาบาลเพื่อกระดูกและสมอง พร้อมให้การดูแลรักษาไมเกรนด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง รวมถึงแพทย์สหสาขาที่มีความชำนาญและเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในทุกวัน


Reference

  1. Takeshima T, Wan Q, Zhang Y, et al. Prevalence, burden, and clinical management of migraine in China, Japan, and South Korea: a comprehensive review of the literature. J Headache Pain. 2019;20(1):111. doi:10.1186/s10194-019-1062-4
  2. Dodick DW. A PhasebyPhase Review of Migraine Pathophysiology. Headache. 2018;58(S1):4-16. doi:10.1111/head.13300
  3. Eigenbrodt AK, Christensen RH, Ashina H, et al. Premonitory symptoms in migraine: a systematic review and meta-analysis of observational studies reporting prevalence or relative frequency. J Headache Pain. 2022;23(1):140. doi:10.1186/s10194-022-01510-z
  4. Schulte LH, Mehnert J, May A. Longitudinal Neuroimaging over 30 Days: Temporal Characteristics of Migraine. Annals of Neurology. 2020;87(4):646-651. doi:10.1002/ana.25697
  5. Vongvaivanich K, Lertakyamanee P, Silberstein SD, Dodick DW. Late-life migraine accompaniments: A narrative review. Cephalalgia. 2015;35(10):894-911. doi:10.1177/0333102414560635
  6. Charles AC, Baca SM. Cortical spreading depression and migraine. Nat Rev Neurol. 2013;9(11):637-644. doi:10.1038/nrneurol.2013.192
  7. Kelman L. Migraine Pain Location: A Tertiary Care Study of 1283 Migraineurs. Headache. 2005;45(8):1038-1047. doi:10.1111/j.1526-4610.2005.05185.x
  8. Headache Classification Committee of the International Headache Society (IHS) The International Classification of Headache Disorders, 3rd edition. Cephalalgia. 2018;38(1):1-211. doi:10.1177/0333102417738202
  9. Giffin NJ, Lipton RB, Silberstein SD, Olesen J, Goadsby PJ. The migraine postdrome: An electronic diary study. Neurology. 2016;87(3):309-313. doi:10.1212/WNL.0000000000002789
  10. Vincent M, Viktrup L, Nicholson RA, Ossipov MH, Vargas BB. The not so hidden impact of interictal burden in migraine: A narrative review. Front Neurol. 2022;13:1032103. doi:10.3389/fneur.2022.1032103