โรคความจำเสื่อม เป็นปัญหาสุขภาพที่คุกคามคนไทยมานานแล้ว ซึ่งระยะหลังมานี้เริ่มพบในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลง เพราะคนส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นโรคนี้ และกลัวการรักษาจนปล่อยให้โรคลุกลามเกินกว่าจะรักษาได้ ด้วยเทคนิคการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของสมองที่รู้ผลไวและไม่เจ็บตัว ช่วยป้องกันความจำเสื่อมและอัลไซเมอร์ได้
โรคอัลไซเมอร์คืออะไร
โรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม เกิดจากความผิดปกติของเซลล์สมองถูกทำลาย มีหลายสาเหตุ เช่น การเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย พันธุกรรม อุบัติเหตุทางสมอง โรคหลอดเลือดสมอง โรคการติดเชื้อของสมอง โรคทางกายที่มีผลกระทบต่อเซลล์สมอง เป็นต้น ปัจจุบันไม่ได้เริ่มเกิดในผู้ป่วยอายุ 65 ปี เพราะจากการศึกษาพบว่าการเกิดโรคจะเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ 40 – 65 ปี ซึ่งในเมืองไทยมีสถิติผู้ป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ถึงเกือบ 2 ล้านคน
โรคอัลไซเมอร์อาการเป็นอย่างไร
โรคอัลไซเมอร์์มีระยะเวลาก่อโรคนาน 15 – 20 ปีกว่าจะมีอาการสมองเสื่อมชัดเจน การแสดงอาการของโรคจะเป็นไปอย่างช้า ๆ เริ่มต้นจากไม่มีความผิดปกติเรื่องความจำ และเริ่มมีอาการความจำถดถอย ซึ่งการที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการความจำถดถอยเกิดขึ้นเป็นผลมาจากการสะสมของสารเบต้าอมีลอยด์ที่ทำลายเซลล์สมองมาแล้ว 10 – 15 ปี ต่อมาผู้ป่วยจึงจะมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีอาการสมองเสื่อมชัดเจน ทำให้การวินิจฉัยและรักษาทำได้ไม่ทันท่วงที ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความเพิกเฉยคิดว่าผิดปกติทางความจำเล็กน้อยไม่ได้เป็น อาการเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อม และเข้าใจผิดที่คิดว่าโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่เกิดในผู้สูงอายุ ไม่สามารถป้องกันหรือรักษาให้หายขาดได้และต้องทานยาอย่างต่อเนื่องไปตลอดชีวิต
สังเกตโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างไร
ควรสังเกตตัวเองหรือบุคคลใกล้ชิดว่าเริ่มมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ ผิดปกติหรือไม่ แล้วรีบพบแพทย์ระบบประสาททันทีเพื่อตรวจหาสาเหตุแต่เนิ่น ๆ เช่น- ลืมรับประทานยาประจำตัว
- ลืมปิดเตาแก๊ส
- ลืมกุญแจ
- ลืมปิดประตูบ้าน
- ลืมปิดไฟ
- ลืมทำในสิ่งที่เคยทำในชีวิตประจำต่าง ๆ มากขึ้น
- มีปัญหาด้านการเรียนรู้
- ใครบอกอะไรแล้วไม่จำ ซึ่งแต่ก่อนไม่เป็น
- นึกชื่อสิ่งของไม่ออก
- ภาวะการนอนผิดปกติหรือเห็นภาพหลอน
ตรวจวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างไร
เทคโนโลยีทางการแพทย์ได้พัฒนาไปมาก มีการตรวจความผิดปกติของสมองด้วยเครื่อง PET Scan หรือสแกนด้วยรังสีเพื่อตรวจหาความผิดปกติทางสมอง การตรวจเรื่องความจำและผลจากการตรวจทาง PET Scan สามารถยืนยันความผิดปกติได้ถูกต้องมากกว่า 90% นอกจากนี้การค้นพบสารชื่อว่า เบต้าอมีลอยด์ เป็นสารที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ มีการใช้ PET Scan โดยใช้สาร C11-PIB (Pittsburgh Compound B) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับในเรื่องการตรวจวินิจฉัยภาวะอัลไซเมอร์เข้ามาช่วย โดยเทคนิคการตรวจด้วยสาร Pittsburgh Compound B มีข้อดีคือ สามารถตรวจหาสารเบต้าอมีลอยด์ในสมองผู้ป่วยได้ตั้งแต่ระยะที่ยังไม่ปรากฏ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องเจาะไขสันหลังเพื่อตรวจดูภาวะผิดปกติของโรคอัลไซเมอร์ ให้ผลการตรวจที่ถูกต้อง ไม่ทำให้ผู้ป่วยต้องเจ็บตัว เมื่อผู้ป่วยรู้ตัวล่วงหน้าว่าตัวเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมองเสื่อมในอนาคต ย่อมช่วยให้วางแผนปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเพื่อป้องกันโรคป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างไร
การป้องกันโรคอัลไซเมอร์ด้วยวิธีง่าย ๆ คือ หมั่นบริหารสมอง ได้แก่- อ่านหนังสือเป็นประจำ
- เล่นเกมที่อาศัยการคิดคำนวณ
- พบปะพูดคุยเข้าสังคม
- คิดบวกพยายามไม่เครียด
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
อย่างไรก็ตามในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรเริ่มตรวจวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ เพราะยิ่งพบอาการได้เร็วเท่าไร โอกาสในการยับยั้งอาการและรักษาโรคก็จะมีมากขึ้น
แพทย์ที่ชำนาญการรักษาโรคอัลไซเมอร์
ดร.นพ.โยธิน ชินวลัญช์ อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลเพื่อกระดูกและสมอง
โรงพยาบาลที่ชำนาญด้านการรักษาโรคอัลไซเมอร์
ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลเพื่อกระดูกและสมอง พร้อมดูแลรักษาโรคอัลไซเมอร์ ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางที่มากด้วยประสบการณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อคืนคุณภาพชีวิตที่ดีกลับมาอีกครั้ง
บทความคลินิกความจำ