|
ฉีดสเตียรอยด์ (Steroid)
|
ฉีดน้ำไขข้อเทียม (Hyaluronic Acid)
|
ฉีดเกล็ดเลือด PRP (Platelet Rich Plasma)
|
วิธีการรักษา
|
- – แพทย์จะทำการฉีดสเตียรอยด์ที่ผสมกับยาชาเข้าไปในข้อเข่า อาจรู้สึกเหมือนถูกบีบหรือแสบร้อนได้ ซึ่งจะออกฤทธิ์เร็ว ช่วยลดการปวดและอักเสบได้ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง และอยู่ได้นานถึง 12 สัปดาห์ ไม่ควรฉีดเกิน 4 ครั้งในแต่ละปี
|
- – แพทย์จะทำการฉีดน้ำไขข้อเทียม หรือสารหล่อลื่นประเภทกรดไฮยาลูโรนิกที่เปรียบเสมือนตัวหล่อลื่นและช่วยดูดซับแรงกระแทกเข้าไปที่ช่องข้อเข่าโดยตรง ทำให้พื้นผิวกระดูกอ่อนไม่เกิดการเสียดสี อยู่ได้นาน 3 – 6 เดือน และสามารถฉีดซ้ำได้ตามความเหมาะสมและคำแนะนำของแพทย์
|
- – แพทย์จะฉีดพลาสมาที่มีเกล็ดเลือดเข้มข้นของผู้ป่วย (PRP) ซึ่งผ่านกระบวนการปั่นแยกเอาเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวออก จนได้เกล็ดเลือดและสารเร่งการเจริญเติบโตที่มีความเข้มข้นสูงเพียงพอและเหมาะสมต่อการรักษา เพื่อฉีดกลับเข้าไปยังบริเวณที่บาดเจ็บและต้องการรักษา อาจปวดบวมหลังฉีดเล็กน้อย โดยจำนวนครั้งในการฉีดขึ้นอยู่กับแพทย์เป็นสำคัญ
|
จุดเด่นการรักษา
|
- – ยาสเตียรอยด์มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการอักเสบของเนื้อเยื่อร่างกาย ช่วยลดการอักเสบเฉพาะจุด ออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว ลดอาการปวดอักเสบได้ใน 24 – 48 ชั่วโมง
|
- – การฉีดน้ำไขข้อเทียมช่วยลดการปวด การอักเสบ เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ทำกิจกรรมใช้ชีวิตได้มีคุณภาพ
|
- – เกล็ดเลือดเข้มข้นของผู้ป่วย (PRP) กระตุ้นให้มีการหลั่งสารเพื่อซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อใหม่เร็วกว่ากลไกปกติ เพิ่มของเหลวหล่อลื่นที่ช่วยลดแรงเสียทาน ช่วยลดปวด ฟื้นฟูกระดูก ข้อต่อ เส้นเอ็น กล้ามเนื้อต่าง ๆ ของร่างกาย
|
กลุ่มที่แนะนำ
|
- – ผู้ที่ปวดข้อเข่าจากการอักเสบ
- – ผู้ป่วยที่รับประทานยาแล้วไม่ดีขึ้น
- – ผู้ป่วยที่กินยาลดอักเสบไม่ได้
|
- – ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมระยะเริ่มต้นถึงปานกลาง
- – ผู้ป่วยที่รับประทานยาแก้ปวดและแก้อักเสบร่วมกับการทำกายภาพแล้วยังไม่ดีขึ้น
- – ผู้ป่วยที่เข่าไม่ได้อักเสบชัดเจนจนต้องฉีดสเตียรอยด์
- – ผู้ป่วยที่รอการผ่าตัดหรือไม่พร้อมผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
- – ผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมได้
|
- – ผู้ป่วยที่อายุยังไม่มาก อยู่ในระยะเริ่มแรกของโรค กระดูกอ่อนยังไม่เสียหายมาก
- – ผู้ป่วยที่เข่าเสื่อมเล็กน้อยถึงปานกลาง
- – ผู้ป่วยที่รับประทานยาแก้ปวดและแก้อักเสบร่วมกับการทำกายภาพแล้วยังไม่ดีขึ้น
- – ผู้ป่วยที่ไวต่อยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน เป็นต้น
- – ผู้ป่วยที่ไม่สามารถฉีดสเตียรอยด์ได้
|
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
|
- – ความเสียหายของเนื้อเยื่อบริเวณข้อเข่าจากสเตียรอยด์
- – ชั้นผิวบริเวณที่ฉีดบางลงและสีผิดปกติ
- – โอกาสติดเชื้อเพิ่มขึ้น แพทย์จึงตรวจเช็กการติดเชื้อภายในหรือผิวหนังรอบ ๆ ข้อเข่าอย่างละเอียด และซักประวัติการแพ้ยาสเตียรอยด์ก่อนรักษา
|
- – ข้อเข่าบวมและปวดจากการอักเสบระหว่างการรักษา
|
- – ข้อเข่าบวมและปวดหลังการฉีด ประมาณ 3 วัน หากต้องฉีดหลายครั้งผู้ป่วยต้องเว้นระยะห่างเป็นสัปดาห์หรือเดือนตามที่แพทย์แนะนำ
|
ข้อควรระวัง
|
- – ผู้ป่วยต้องไม่ติดเชื้อภายในหรือผิวหนังรอบ ๆ ข้อเข่า
- – ผู้ป่วยต้องไม่แพ้ยาสเตียรอยด์
|
- – เนื่องจากกรดไฮยาลูโรนิกที่ใช้ส่วนใหญ่สกัดจากสัตว์ปีกหรือหงอนสัตว์ปีก จึงไม่แนะนำในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้ไข่หรือสัตว์ปีก ควรต้องแจ้งแพทย์ก่อนเข้ารับการรักษา
|
- – ก่อนเข้ารับการรักษาผู้ป่วยควรเลี่ยงการใช้ยาหรือฉีดสเตียรอยด์เป็นเวลา 2 – 3 สัปดาห์ และหยุดใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ต่าง ๆ อย่างน้อย 1 สัปดาห์
- – ผู้ป่วยห้ามกินยาที่ออกฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด 5 วันก่อนรักษา
|
ข้อจำกัดการรักษา
|
- – การฉีดสเตียรอยด์เข่ามักได้ผลดีที่สุดในการฉีดครั้งแรก ๆ จึงไม่เหมาะกับการรักษาระยะยาว เนื่องจากอาจรบกวนกระบวนการซ่อมแซมตามธรรมชาติของร่างกาย ดังนั้นหากฉีดสเตียรอยด์ไปสักพักหนึ่งแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรเปลี่ยนวิธีการรักษา
|
- – การฉีดน้ำไขข้อเทียมลดปวดได้ช้ากว่าการฉีดสเตียรอยด์
- – ในผู้สูงวัยหรือผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมรุนแรง มีการเสียหายของข้อหรือข้อผิดรูปมาก ไม่แนะนำให้ฉีดน้ำไขข้อเทียม
|
- – ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมรุนแรง ผู้ที่กำลังอักเสบและติดเชื้อในระยะลุกลาม ผู้ที่เป็นโรคเลือดหรือมีภาวะเลือดออกผิดปกติที่ต้องใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ผู้ป่วยโรคโลหิตจาง หรือสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ ไม่แนะนำวิธีการฉีดเกล็ดเลือด PRP
|