หน้าหลัก
/ บทความสุขภาพ / โรคและการรักษา /
รวมเทคนิคใหม่ ผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ (DAA) ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม เทคนิคระงับปวดแบบใหม่

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมด้วยเทคนิคไม่ตัดกล้ามเนื้อ (DAA) และการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยเทคนิคใหม่ ระงับปวด Radiofrequency โดยนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์นำวิถีและข้อเทียมรุ่นใหม่ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ มาช่วยในการผ่าตัดเพื่อหาความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ร่วมกับเทคนิคการผ่าตัดแบบทะนุถนอมเนื้อเยื่อไม่ให้บอบช้ำ และเทคนิคการระงับปวด ช่วยทำให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยและฟื้นตัวไว ช่วยคืนการเคลื่อนไหว ให้ชีวิตฟิตเต็มที่ (Reboot Your Bounce)


ดูแลรักษาโรคข้อสะโพกและข้อเข่า

ในส่วนของการรักษาข้อสะโพกได้มีการริเริ่มนำเทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อมาใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2015 ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยได้ทำการผ่าตัดผู้ป่วยเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมด้วยเทคนิคนี้ไปแล้วกว่า 500 ราย พบว่า ผู้ป่วยทุกรายสามารถฟื้นตัวได้ไว เดินได้ตั้งแต่วันที่ผ่าตัด มีแผลผ่าตัดขนาดเล็ก มีระดับความเจ็บปวดหลังผ่าตัดที่น้อยมากและประสบผลสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม 2 ข้างพร้อมกันให้แก่ผู้ป่วยไปทั้งหมด 52 ราย ไม่พบว่ามีการหลุดของข้อสะโพกหรือผลแทรกซ้อนที่ต้องมีการผ่าตัดซ้ำแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังประสบความสำเร็จในการนำเทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อมาใช้ในการผ่าตัดซ่อมแซมและแก้ไขข้อสะโพกเทียมที่เสียหาย สึกหรอจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในอดีต (Revision) ให้แก่ผู้ป่วยอีกหลายสิบรายอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดแก้ไขข้อสะโพกเทียมสึกหรอ เสื่อมจากการใช้งาน ขายาวไม่เท่ากันหลังผ่าตัด ข้อสะโพกเทียมหลวม หลุด แตกหัก หรือติดเชื้อ เป็นต้น

การผ่าตัดข้อสะโพกเทียม

เทคโนโลยีในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อในเอเชียแปซิฟิก ศัลยแพทย์จะใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดด้วยคอมพิวเตอร์นำวิถีรุ่นใหม่ เรียกว่า JointPoint™ ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะ เพื่อช่วยระบุตำแหน่งของข้อสะโพกเทียมในขณะผ่าตัดให้ตรงตำแหน่งมากขึ้น เลือกขนาดและวัสดุของข้อเทียมให้เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล และยังสามารถช่วยผ่าตัดให้ผู้ป่วยมีความยาวขาทั้งสองข้างให้เท่ากันหลังผ่าตัดอีกด้วย ซึ่งเทคโนโลยีตัวนี้ไม่จำเป็นต้องเจาะกระดูกของผู้ป่วยเหมือนระบบคอมพิวเตอร์นำวิถีหรือหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดรุ่นอื่น ๆ ในอดีต ทำให้ผู้ป่วยมีการบาดเจ็บที่น้อยลงและฟื้นตัวได้ไวกว่าเดิม

นอกจากนี้โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนลยังเป็นผู้ริเริ่มนำข้อสะโพกเทียมรุ่นใหม่ ที่เรียกว่า Actis® Total Hip System ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อมาใช้ ซึ่งตัวข้อเทียมจะมีผิวสัมผัสที่ทำให้กระดูกเข้าไปยึดติดกับข้อสะโพกเทียมได้ดีขึ้นกว่าเดิม มีจะงอย (Collar) ที่ป้องกันไม่ให้ข้อสะโพกเทียมจมหลังผ่าตัด และลดผลแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะผ่าตัดลงได้ ทำให้การผ่าตัดประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี 

เทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ โดยปกติแล้วแนวแผลผ่าตัดจะอยู่บริเวณหน้าต้นขา ซึ่งอาจจะเห็นแผลได้ง่าย แต่ด้วยเทคนิคการลงแผลแบบใหม่ จะมีการซ่อนแผลผ่าตัดใต้ต่อขาหนีบหรือที่เรียกว่า BIKINI Incision ซึ่งเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: MIS) ที่สำคัญการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ ด้วยเทคนิคซ่อนแผลผ่าตัด แนบเนียน เพราะแผลผ่าตัดขนาดเล็กจะอยู่ด้านหน้าบริเวณขาหนีบ ซ่อนใต้แนวกางเกงใน ทำให้ไม่เห็นรอยแผลเมื่อใส่กางเกงขาสั้นหรือชุดว่ายน้ำ ซึ่งการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมด้วยเทคนิคนี้มีข้อดีกว่าการผ่าตัดแบบดั้งเดิม เช่น ผู้ป่วยมีอาการปวดลดลง ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้ไวขึ้น เดินได้ทันทีหลังการผ่าตัด เนื่องจากไม่มีการตัดกล้ามเนื้อ ศัลยแพทย์ผู้ผ่าตัดสามารถวางตำแหน่งข้อสะโพกเทียมได้ดีขึ้น อัตราการหลุดของข้อสะโพกเทียมต่ำมาก มีความยาวขาที่เท่ากันหลังผ่าตัด มีขนาดแผลที่เล็ก สวยงาม สามารถซ่อนแผลผ่าตัดใต้ขาหนีบ และยังสามารถทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมได้ทั้งสองข้างพร้อมกันอีกด้วย

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมด้วยเทคนิคไม่ตัดกล้ามเนื้อ (DAA) และการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยเทคนิคใหม่ ระงับปวด Radiofrequency โดยนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์นำวิถีและข้อเทียมรุ่นใหม่ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ มาช่วยในการผ่าตัดเพื่อหาความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ร่วมกับเทคนิคการผ่าตัดแบบทะนุถนอมเนื้อเยื่อไม่ให้บอบช้ำ และเทคนิคการระงับปวด ช่วยทำให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยและฟื้นตัวไว ช่วยคืนการเคลื่อนไหว ให้ชีวิตฟิตเต็มที่ (Reboot Your Bounce) ดูแลรักษาโรคข้อสะโพกและข้อเข่า ในส่วนของการรักษาข้อสะโพกได้มีการริเริ่มนำเทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อมาใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2015 ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยได้ทำการผ่าตัดผู้ป่วยเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมด้วยเทคนิคนี้ไปแล้วกว่า 500 ราย พบว่า ผู้ป่วยทุกรายสามารถฟื้นตัวได้ไว เดินได้ตั้งแต่วันที่ผ่าตัด มีแผลผ่าตัดขนาดเล็ก มีระดับความเจ็บปวดหลังผ่าตัดที่น้อยมากและประสบผลสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม 2 ข้างพร้อมกันให้แก่ผู้ป่วยไปทั้งหมด 52 ราย ไม่พบว่ามีการหลุดของข้อสะโพกหรือผลแทรกซ้อนที่ต้องมีการผ่าตัดซ้ำแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังประสบความสำเร็จในการนำเทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อมาใช้ในการผ่าตัดซ่อมแซมและแก้ไขข้อสะโพกเทียมที่เสียหาย สึกหรอจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในอดีต (Revision) ให้แก่ผู้ป่วยอีกหลายสิบรายอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดแก้ไขข้อสะโพกเทียมสึกหรอ เสื่อมจากการใช้งาน ขายาวไม่เท่ากันหลังผ่าตัด ข้อสะโพกเทียมหลวม หลุด แตกหัก หรือติดเชื้อ เป็นต้น การผ่าตัดข้อสะโพกเทียม เทคโนโลยีในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อในเอเชียแปซิฟิก ศัลยแพทย์จะใช้เทคโนโลยีการผ่าตัดด้วยคอมพิวเตอร์นำวิถีรุ่นใหม่ เรียกว่า JointPoint™ ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะ เพื่อช่วยระบุตำแหน่งของข้อสะโพกเทียมในขณะผ่าตัดให้ตรงตำแหน่งมากขึ้น เลือกขนาดและวัสดุของข้อเทียมให้เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล และยังสามารถช่วยผ่าตัดให้ผู้ป่วยมีความยาวขาทั้งสองข้างให้เท่ากันหลังผ่าตัดอีกด้วย ซึ่งเทคโนโลยีตัวนี้ไม่จำเป็นต้องเจาะกระดูกของผู้ป่วยเหมือนระบบคอมพิวเตอร์นำวิถีหรือหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดรุ่นอื่น ๆ ในอดีต ทำให้ผู้ป่วยมีการบาดเจ็บที่น้อยลงและฟื้นตัวได้ไวกว่าเดิม นอกจากนี้โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนลยังเป็นผู้ริเริ่มนำข้อสะโพกเทียมรุ่นใหม่ ที่เรียกว่า Actis® Total Hip System ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อมาใช้ ซึ่งตัวข้อเทียมจะมีผิวสัมผัสที่ทำให้กระดูกเข้าไปยึดติดกับข้อสะโพกเทียมได้ดีขึ้นกว่าเดิม มีจะงอย (Collar) ที่ป้องกันไม่ให้ข้อสะโพกเทียมจมหลังผ่าตัด และลดผลแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะผ่าตัดลงได้ ทำให้การผ่าตัดประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี เทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ โดยปกติแล้วแนวแผลผ่าตัดจะอยู่บริเวณหน้าต้นขา ซึ่งอาจจะเห็นแผลได้ง่าย แต่ด้วยเทคนิคการลงแผลแบบใหม่ จะมีการซ่อนแผลผ่าตัดใต้ต่อขาหนีบหรือที่เรียกว่า BIKINI Incision ซึ่งเป็นการผ่าตัดแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: MIS) ที่สำคัญการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ ด้วยเทคนิคซ่อนแผลผ่าตัด แนบเนียน เพราะแผลผ่าตัดขนาดเล็กจะอยู่ด้านหน้าบริเวณขาหนีบ ซ่อนใต้แนวกางเกงใน ทำให้ไม่เห็นรอยแผลเมื่อใส่กางเกงขาสั้นหรือชุดว่ายน้ำ ซึ่งการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมด้วยเทคนิคนี้มีข้อดีกว่าการผ่าตัดแบบดั้งเดิม เช่น ผู้ป่วยมีอาการปวดลดลง ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้ไวขึ้น เดินได้ทันทีหลังการผ่าตัด เนื่องจากไม่มีการตัดกล้ามเนื้อ ศัลยแพทย์ผู้ผ่าตัดสามารถวางตำแหน่งข้อสะโพกเทียมได้ดีขึ้น อัตราการหลุดของข้อสะโพกเทียมต่ำมาก มีความยาวขาที่เท่ากันหลังผ่าตัด มีขนาดแผลที่เล็ก สวยงาม สามารถซ่อนแผลผ่าตัดใต้ขาหนีบ และยังสามารถทำการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมได้ทั้งสองข้างพร้อมกันอีกด้วย การเปลี่ยนข้อเข่าเทียม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยเทคนิคระงับความปวดรูปแบบใหม่ โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสถาบัน Joint Commission International (JCI) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ให้การรับรองมาตรฐานและคุณภาพของโปรแกรมการผ่าตัดข้อเข่าเทียม โดยผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนลที่ผ่านมา มากกว่า 500 ราย ทุกรายสามารถเดินได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยสามารถงอเข่าได้มากกว่า 90 องศาก่อนกลับบ้าน มีอัตราความพึงพอใจในการรักษาที่สูงมาก (99%) เพราะมีการใช้โปรแกรมการรักษาที่ออกแบบเฉพาะบุคคล (Customize Service) เพื่อตอบสนองคนไข้ที่มีสภาวะต่างกัน เริ่มตั้งแต่ก่อนผ่าตัด นำ Digital Template ช่วยวางแผนหาขนาดของข้อเข่าเทียมที่เหมาะสม รวมทั้งกระดูกที่จะถูกตัดออกว่าจะหนาบาง เล็กใหญ่ขนาดไหน และต้องเอียงทำมุมเท่าใด โดยเฉพาะกรณีที่มีความวิกลรูปผิดปกติมาก หรือกรณีที่เคยมีกระดูกหัก เคยผ่าตัดมาก่อน จะใช้เครื่องเอกซเรย์สองแกน Biplane Imaging (EOS) สแกนตั้งแต่กระดูกสันหลังจนถึงปลายเท้าเพื่อสร้างภาพ 3 มิติออกมาช่วยวางแผนก่อนการผ่าตัด มีการใช้เทคนิคระงับปวดระหว่างการผ่าตัดและช่วงที่อยู่โรงพยาบาล ซึ่งเป็นเทคนิคที่ริเริ่มนำมาใช้ในประเทศไทย เช่น การใช้จี้คลื่นวิทยุความถี่สูงที่เส้นประสาทรอบข้อเข่า (Radiofrequency Ablation) ทำให้ผู้ป่วยแทบจะไม่มีอาการปวดหลังผ่าตัดเลย จึงมีการฟื้นตัวที่รวดเร็วมาก อย่างไรก็ตามผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมไม่ใช่ทุกรายที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด จะเน้นรักษาตามระยะของโรค ถ้ายังสามารถใช้เข่าในสภาวะเข่าเสื่อมที่ยังไม่รุนแรงได้จะแนะนำให้เปลี่ยนวิธีการใช้งาน เช่น ห้ามนั่งคุกเข่า หรือนั่งยอง ๆ และควรเลือกเล่นกีฬาที่มีการกระแทกของข้อเข่าน้อย เช่น ว่ายน้ำ เดินเร็ว ขี่จักรยาน เวลานั่งทำงานปรับที่นั่งให้สูงเพื่อให้เข่าได้เหยียดเต็มที่ หากต้องนาน ๆ ควรพักเข่าด้วยการเหยียดเข่าตรงในท่านั่งแล้วนับ 1 - 10 เพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าขาแข็งแรงขึ้น ทำประมาณ 20 - 30 ครั้ง ต้องควบคุมน้ำหนัก ถ้าข้อเข่าเสื่อมที่ยังเป็นไม่มากสามารถรักษาด้วยการทานยาตามอาการ และการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเพื่อช่วยลดการเสียดสีของข้อเข่า หรือฉีดยาสเตียรอยด์ในปริมาณที่จำกัดได้ แต่ถ้าการรักษาที่ว่ามาทั้งหมดไม่ได้ผลก็ต้องเข้ารับการผ่าตัด เทคนิคการระงับปวดแบบใหม่ ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่คนไข้กังวล โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนลได้นำเทคนิคการระงับความเจ็บปวดหลากหลายชนิดเข้ามาใช้ในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาหลากหลายกลุ่มร่วมกัน มีการบริหารยาลดความเจ็บปวดโดยการบล็อกหลังตามทั่วไป ร่วมกับการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนที่จำเพาะเจาะจงกับหัวเข่า โดยการใส่สายเพื่อให้ยาชาในช่องแอดดั๊กเตอร์ที่บริเวณต้นขา เพื่อลดระดับความปวด โดยจะให้ยาชาเข้าไปที่เส้นประสาทที่เลี้ยงข้อเข่าและให้ยาชาต่อเนื่องแบบช้า ๆ ซึ่งการให้การระงับความรู้สึกวิธีนี้ ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวด แต่กล้ามเนื้อยังทำงานได้ ทำให้ผู้ป่วยสามารถทำกายภาพบำบัดได้เร็วขึ้นอย่างมาก การทำกายภาพบำบัดที่ดีนี้เป็นจุดสำคัญมาก ๆ ที่จะทำให้การรักษาประสบความสำเร็จ โดยผู้ป่วยสามารถเดินได้ทันที 2 - 3 ชั่วโมงหลังผ่าตัด โดยที่ไม่มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเหมือนการระงับปวดชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่กลัวความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดมาก ๆ เทคนิคการจี้ด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูงที่เส้นประสาทรอบข้อเข่า (Radiofrequency Ablation) สามารถควบคุมความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดได้ดีกว่าและนานกว่าเป็นระยะเวลายาวนานหลายเดือนจนถึงปี หลักการการรักษานี้ทำโดยการใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงจี้ที่เส้นประสาทที่รับความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้เกิดความร้อนที่เส้นประสาทจนหยุดการทำงานไม่สามารถส่งกระแสความรู้สึกไปยังสมองได้ การรักษาทำโดยการใส่เข็มชนิดพิเศษบริเวณรอบเข่า 3 จุด ร่วมกับ X - Ray และ Ultrasound นำทางเข็ม เพื่อความถูกต้องสูงสุด โดยการรักษาจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ซึ่งในวิธีการจี้คลื่นวิทยุแบบมาตรฐาน (Conventional Radiofrequency) จะเป็นการใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงที่ให้พลังงานความร้อนอยู่ที่ 80 องศาเซลเซียส แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน มีการพัฒนาให้คลื่นพลังงานมีอุณหภูมิลดลงด้วยระบบ Water - Cooled Technology โดยมีอุณหภูมิอยู่ที่ 60 องศาเซลเซียส มีผลให้ประสิทธิในการรักษาภาพสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดที่ลดน้อยลงมาก และฟื้นตัวได้ไวมากยิ่งขึ้น การจี้คลื่นวิทยุรอบหัวเข่าสามารถทำได้ในหลายกรณี ทั้งในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าแต่มีความเจ็บปวดทรมานที่ีมีต้นเหตุมาจากข้อเข่า หรือผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บเรื้อรังใด ๆ ของข้อเข่าที่ไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้ การให้การดูแลความเจ็บปวดสำหรับการผ่าตัดข้อสะโพกปัจจุบันได้ผลดีมาก โดยเฉพาะการทำร่วมกับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ (DAA) การให้การระงับความรู้สึกแบบต่อเนื่องในช่อง Fascia Ilica ทำให้เส้นประสาทหลาย ๆ เส้นที่ไปเลี้ยงสะโพกไม่ทำงานระหว่างการให้ยา ช่วงหลังการผ่าตัดจน 2 - 3 วัน ผู้ป่วยจะสามารถทำกายภาพบำบัดและพักฟื้นได้อย่างเต็มที่โดยแทบจะไม่ต้องกังวลเรื่องความปวด ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล พร้อมให้บริการ แบบ Total Joint Care ให้การดูแลรักษาแบบครบครัน ไม่ได้เน้นการผ่าตัดเปลี่ยนข้อแต่เพียงอย่างเดียว โดยมีนโยบายหลัก คือ การช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติอย่างมีคุณภาพได้ Reboot Your Bounce ด้วยการผสมผสานวิธีการรักษาต่าง ๆ พร้อมด้วยประสบการณ์ทีมแพทย์ประจำและแพทย์ที่ปรึกษา มีความชำนาญในการรักษาโรคข้อเข่าและข้อสะโพกมาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี สามารถให้การรักษาโรคที่มีความรุนแรง ความผิดรูป ความผิดปกติของข้อทุก ๆ รูปแบบ โดยมีจุดเด่นคือ สามารถแก้ไขปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังจากการรักษาผ่าตัดข้อสะโพกหรือข้อเข่ามาแล้ว ประกอบกับทีมแพทย์สหสาขาวิชา พยาบาล เจ้าหน้าที่ กายภาพบำบัด (Multidisciplinary Care) ร่วมกันดูแลรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการดูแลรักษาแก่ผู้ป่วย ญาติ และแพทย์ ร่วมกันเลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย

การเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้วยเทคนิคระงับความปวดรูปแบบใหม่  โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสถาบัน Joint Commission International (JCI) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ให้การรับรองมาตรฐานและคุณภาพของโปรแกรมการผ่าตัดข้อเข่าเทียม โดยผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนลที่ผ่านมา มากกว่า 500 ราย ทุกรายสามารถเดินได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยสามารถงอเข่าได้มากกว่า 90 องศาก่อนกลับบ้าน มีอัตราความพึงพอใจในการรักษาที่สูงมาก (99%) เพราะมีการใช้โปรแกรมการรักษาที่ออกแบบเฉพาะบุคคล (Customize Service) เพื่อตอบสนองคนไข้ที่มีสภาวะต่างกัน 

เริ่มตั้งแต่ก่อนผ่าตัด นำ Digital Template ช่วยวางแผนหาขนาดของข้อเข่าเทียมที่เหมาะสม รวมทั้งกระดูกที่จะถูกตัดออกว่าจะหนาบาง เล็กใหญ่ขนาดไหน และต้องเอียงทำมุมเท่าใด โดยเฉพาะกรณีที่มีความวิกลรูปผิดปกติมาก หรือกรณีที่เคยมีกระดูกหัก เคยผ่าตัดมาก่อน จะใช้เครื่องเอกซเรย์สแกน เพื่อช่วยวางแผนก่อนการผ่าตัด มีการใช้เทคนิคระงับปวดระหว่างการผ่าตัดและช่วงที่อยู่โรงพยาบาล ซึ่งเป็นเทคนิคที่ริเริ่มนำมาใช้ในประเทศไทย เช่น การใช้จี้คลื่นวิทยุความถี่สูงที่เส้นประสาทรอบข้อเข่า (Radiofrequency Ablation) ทำให้ผู้ป่วยแทบจะไม่มีอาการปวดหลังผ่าตัดเลย จึงมีการฟื้นตัวที่รวดเร็วมาก

อย่างไรก็ตามผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมไม่ใช่ทุกรายที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด จะเน้นรักษาตามระยะของโรค ถ้ายังสามารถใช้เข่าในสภาวะเข่าเสื่อมที่ยังไม่รุนแรงได้จะแนะนำให้เปลี่ยนวิธีการใช้งาน เช่น ห้ามนั่งคุกเข่า หรือนั่งยอง ๆ และควรเลือกเล่นกีฬาที่มีการกระแทกของข้อเข่าน้อย เช่น ว่ายน้ำ เดินเร็ว ขี่จักรยาน เวลานั่งทำงานปรับที่นั่งให้สูงเพื่อให้เข่าได้เหยียดเต็มที่ หากต้องนาน ๆ ควรพักเข่าด้วยการเหยียดเข่าตรงในท่านั่งแล้วนับ 1 – 10 เพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าขาแข็งแรงขึ้น ทำประมาณ 20 – 30 ครั้ง ต้องควบคุมน้ำหนัก ถ้าข้อเข่าเสื่อมที่ยังเป็นไม่มากสามารถรักษาด้วยการทานยาตามอาการ และการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเพื่อช่วยลดการเสียดสีของข้อเข่า หรือฉีดยาสเตียรอยด์ในปริมาณที่จำกัดได้ แต่ถ้าการรักษาที่ว่ามาทั้งหมดไม่ได้ผลก็ต้องเข้ารับการผ่าตัด

เทคนิคการระงับปวดแบบใหม่

ความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่คนไข้กังวล โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนลได้นำเทคนิคการระงับความเจ็บปวดหลากหลายชนิดเข้ามาใช้ในผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาหลากหลายกลุ่มร่วมกัน มีการบริหารยาลดความเจ็บปวดโดยการบล็อกหลังตามทั่วไป ร่วมกับการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนที่จำเพาะเจาะจงกับหัวเข่า โดยการใส่สายเพื่อให้ยาชาในช่องแอดดั๊กเตอร์ที่บริเวณต้นขา เพื่อลดระดับความปวด โดยจะให้ยาชาเข้าไปที่เส้นประสาทที่เลี้ยงข้อเข่าและให้ยาชาต่อเนื่องแบบช้า ๆ  ซึ่งการให้การระงับความรู้สึกวิธีนี้ ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บปวด แต่กล้ามเนื้อยังทำงานได้ ทำให้ผู้ป่วยสามารถทำกายภาพบำบัดได้เร็วขึ้นอย่างมาก การทำกายภาพบำบัดที่ดีนี้เป็นจุดสำคัญมาก ๆ ที่จะทำให้การรักษาประสบความสำเร็จ  โดยผู้ป่วยสามารถเดินได้ทันที 2 – 3  ชั่วโมงหลังผ่าตัด โดยที่ไม่มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเหมือนการระงับปวดชนิดอื่น ๆ

นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่กลัวความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดมาก ๆ เทคนิคการจี้ด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูงที่เส้นประสาทรอบข้อเข่า (Radiofrequency Ablation) สามารถควบคุมความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดได้ดีกว่าและนานกว่าเป็นระยะเวลายาวนานหลายเดือนจนถึงปี หลักการการรักษานี้ทำโดยการใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงจี้ที่เส้นประสาทที่รับความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้เกิดความร้อนที่เส้นประสาทจนหยุดการทำงานไม่สามารถส่งกระแสความรู้สึกไปยังสมองได้ การรักษาทำโดยการใส่เข็มชนิดพิเศษบริเวณรอบเข่า 3 จุด ร่วมกับ X – Ray และ Ultrasound นำทางเข็ม เพื่อความถูกต้องสูงสุด โดยการรักษาจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ซึ่งในวิธีการจี้คลื่นวิทยุแบบมาตรฐาน (Conventional Radiofrequency) จะเป็นการใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงที่ให้พลังงานความร้อนอยู่ที่ 80  องศาเซลเซียส แต่ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน มีการพัฒนาให้คลื่นพลังงานมีอุณหภูมิลดลงด้วยระบบ Water – Cooled Technology โดยมีอุณหภูมิอยู่ที่ 60 องศาเซลเซียส มีผลให้ประสิทธิในการรักษาภาพสูงขึ้น  ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดที่ลดน้อยลงมาก และฟื้นตัวได้ไวมากยิ่งขึ้น การจี้คลื่นวิทยุรอบหัวเข่าสามารถทำได้ในหลายกรณี ทั้งในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าแต่มีความเจ็บปวดทรมานที่ีมีต้นเหตุมาจากข้อเข่า หรือผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บเรื้อรังใด ๆ ของข้อเข่าที่ไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดได้

การให้การดูแลความเจ็บปวดสำหรับการผ่าตัดข้อสะโพกปัจจุบันได้ผลดีมาก โดยเฉพาะการทำร่วมกับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแนวใหม่แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ (DAA) การให้การระงับความรู้สึกแบบต่อเนื่องในช่อง Fascia Ilica ทำให้เส้นประสาทหลาย ๆ เส้นที่ไปเลี้ยงสะโพกไม่ทำงานระหว่างการให้ยา ช่วงหลังการผ่าตัดจน 2 – 3 วัน ผู้ป่วยจะสามารถทำกายภาพบำบัดและพักฟื้นได้อย่างเต็มที่โดยแทบจะไม่ต้องกังวลเรื่องความปวด


ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล พร้อมให้บริการ แบบ Total Joint Care ให้การดูแลรักษาแบบครบครัน ไม่ได้เน้นการผ่าตัดเปลี่ยนข้อแต่เพียงอย่างเดียว โดยมีนโยบายหลัก คือ การช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติอย่างมีคุณภาพได้ Reboot Your Bounce ด้วยการผสมผสานวิธีการรักษาต่าง ๆ พร้อมด้วยประสบการณ์ทีมแพทย์ประจำและแพทย์ที่ปรึกษา มีความชำนาญในการรักษาโรคข้อเข่าและข้อสะโพกมาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี สามารถให้การรักษาโรคที่มีความรุนแรง ความผิดรูป ความผิดปกติของข้อทุก ๆ รูปแบบ โดยมีจุดเด่นคือ สามารถแก้ไขปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังจากการรักษาผ่าตัดข้อสะโพกหรือข้อเข่ามาแล้ว ประกอบกับทีมแพทย์สหสาขาวิชา พยาบาล เจ้าหน้าที่ กายภาพบำบัด (Multidisciplinary Care) ร่วมกันดูแลรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการดูแลรักษาแก่ผู้ป่วย ญาติ และแพทย์ ร่วมกันเลือกวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย