โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล ชูนวัตกรรม ลดเสี่ยง-เลี่ยงตาย โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
หากกล่าวถึงโรคที่คร่าชีวิตคนไทย หนึ่งในนั้นย่อมมี ‘โรคหลอดเลือดสมอง’ ที่ถือเป็นตัวการในลำดับต้นๆ จากสถิติพบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองถึงปีละ 150,000 คน หรือกล่าวได้ว่าคนไทยป่วยเป็นโรคนี้ 1 รายในทุกๆ 4 นาทีและทุกๆ 10 นาทีจะมีคนเสียชีวิตจากโรคดังกล่าว เห็นได้ชัดในช่วงนี้ที่มีคนดังล้มป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบทำให้กลายเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตหรือรุนแรงขึ้นเสียชีวิตในบางราย แต่หากประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคหลอดเลือด สมอง ก็จะช่วยให้การรับมือและป้องกันสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังจะช่วยลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้อีกด้วย
นพ.ชาญพงค์ ตังคณะกุล ผู้ อำนวยการศูนย์สมองและระบบประสาทกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า ต้นเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke นั้น เกิดจากการที่หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองมีความผิดปกติ ซึ่งมี 2 ชนิดคือ
หลอดเลือดสมองอุดตันและหลอดเลือดสมองแตก ส่งผลให้สมองหยุดทำงานไปอย่างเฉียบพลันจากการที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงหรือมี เลือดออกแทรกทับในเนื้อสมอง 70% ของโรคหลอดเลือดสมองเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ซึ่งมีสาเหตุสำคัญ 3 ประการคือ
- การอุดตันของหลอดเลือดจากการเสื่อมหรือการแข็งตัวของหลอดเลือด
- ก้อนเลือดจากหัวใจหรือตะกอนเลือดจากผนังหลอดเลือดแดงที่คอด้านหน้าหลุดเข้าไปอุดตันหลอดเลือดในสมอง
- ความ ดันเลือดลดลงมากจนไปเลี้ยงไม่พออีก ส่วนอีก 30% เกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 2 ชนิด คือเลือดออกในเนื้อสมอง (Intracerebral Hemorrhage หรือ ICH) และเลือดออกที่ผิวสมอง (Subarachnoid Hemorrhage หรือ SAH)
ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ส่วน ใหญ่ล้วนเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนสามารถป้องกันได้ ไม่ว่าจะเป็น การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกาย ความอ้วน รับประทานยาคุมกำเนิด ความเครียด ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือหลอดเลือดปลายขาตีบ คนสูงอายุ ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รวมถึงคนที่มีอัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ นพ.ชาญพงค์ ได้กล่าวต่อถึงอาการและความรุงแรงของโรคหลอดเลือดสมองว่าสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ขึ้นอยู่กับระยะเวลา ตำแหน่งที่เกิดการตีบตันในสมองและขนาดของหลอดเลือด
“กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่มีอาการน้อย คนไข้จะพูดไม่ชัด มุมปากตก แขนขาไม่มีแรงแต่พอเดินได้ มักไม่มีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย กลุ่มที่ 2 อาการปานกลาง คนไข้จะมีอาการเปลี่ยนแปลงเร็ว เช่น อ่อนแรงมากจนขยับไม่ได้หรือพูดไม่ได้เลย ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนเพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ การฟื้นตัวในกลุ่มนี้จะเริ่มเห็นชัดประมาณสัปดาห์ที่ 3 และมักไม่กลับมาเป็นปกติ กลุ่มสุดท้ายคือ กลุ่มอาการหนัก มักไม่รู้สึกตั้งแต่ต้นหรืออาการซึมลงเร็วมากภายใน 24 ชม. ส่วนใหญ่เกิดในผู้ป่วยที่หลอดเลือดสมองตีบตันขนาดใหญ่ในผู้สูงอายุ มักมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือเคยเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตมาก่อน และมักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ” นพ.ชาญพงค์ กล่าว
นพ.ชาญพงค์ ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงขั้นตอนในการประเมินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตามหลัก BEFAST โดยเน้นให้จดจำอาการเตือน 5 อย่าง คือ
- เดินเซ เวียนศีรษะ บ้านหมุนฉับพลัน (Balance)
- ตามัว มองไม่เห็น เห็นภาพซ้อนฉับพลัน (Eyes)
- หน้าเบี้ยวหรือปากเบี้ยว (Face)
- แขนขาอ่อนแรง (Arm)
- พูดไม่ชัด พูดอ้อแอ้หรือพูดไม่ออก (Speech)
โดยอาการทั้งหมดทั้งปากเบี้ยว แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัดจะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ดังนั้นจึงต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที (Time) “นอก จากหลัก BEFAST แล้วโรงพยาบาลกรุงเทพยังให้ความสำคัญกับแผนการรักษาโรคหลอดเลือดสมองโดย เฉพาะกรณีหลอดเลือดอุดตันในสมองฉับพลัน โดยหากคนไข้มีอาการไม่เกิน 4.5 ชม. และพิจารณาความเหมาะสมของร่างกายคนไข้แล้ว แพทย์จะรักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือด (Actilyse) ทางหลอดเลือดดำ ซึ่งมีโอกาสที่จะช่วยให้คนไข้กลับมาเป็นปกติค่อนข้างสูง ทั้งนี้ต้องให้เวลากับทีมแพทย์ประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรค ดูผลเลือด และดูภาพถ่ายสมองก่อนการตัดสินใจให้ยา อย่างไรก็ตาม ยาดังกล่าวมีความเสี่ยงอาจทำให้มีเลือดออกในสมองได้ราว 6% หรือเมื่อให้ยาไป 8 คนจะมีคนไข้ที่หายปกติเพียง 1 คน เพราะฉะนั้น โรงพยาบาลที่ให้ยาจึงต้องมีศักยภาพรองรับโรคแทรกซ้อนได้ ในกรณีที่คนไข้มาถึงแพทย์โดยใช้เวลาเกิน 4.5 ชม.แต่ไม่เกิน 6 ชม. และวินิจฉัยแล้วว่าเซลล์สมองยังไม่ตายสามารถใช้วิธี Mechanical Thrombectomy หรือการใส่อุปกรณ์เข้าไปทางหลอดเลือดแดง เพื่อดึงเอาลิ่มเลือดที่อยู่ภายในกระโหลกศีรษะชนิดต่างๆ เช่น Snare, Merci, Penumbra และ Solitaire ออกมา ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยลดผลกระทบและเพิ่มโอกาสการฟื้นตัวให้แก่คน ไข้ และมี รพ.เพียงไม่กี่แห่งที่สามารถทำการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวได้ โดยมีโรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล เป็นหนึ่งในนั้น” นพ.ชาญพงค์ กล่าว
อย่างที่ทราบดีว่า เวลา คือ หัวใจสำคัญของการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลกรุงเทพจึงได้จัดตั้ง ศูนย์บริการฉุกเฉินเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ หรือ Bangkok Emergency Services (BES) เพื่อ ให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินให้รอดพ้นจากสภาวะวิกฤต ด้วยการประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลรัฐและเอกชนหลายแห่ง ซึ่งในขณะนี้มีเครือข่ายศูนย์บริการฉุกเฉินเครือโรงพยาบาลกรุงเทพทั้งใน เขตกรุงเทพและปริมลฑลแล้วจำนวน 13 แห่ง พร้อมทีมแพทย์-พยาบาลผู้เชี่ยวชาญและอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัยได้มาตรฐาน สากล ไม่ว่าจะเป็น ICU เคลื่อนที่ ระบบ GPS นำทาง BES Motorlance มอเตอร์ไซต์การแพทย์ฉุกเฉิน รวมถึงศูนย์สั่งการฉุกเฉิน BES Dispatch โทร.02-716-9999 รับเเจ้งเหตุ 24 ชั่วโมง เพื่ออำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือผู้ป่วยอุบัติเหตุ หรือผู้ป่วยวิกฤตอย่างผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สู่โรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพที่อยู่ใกล้จุดเกิดเหตุอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังได้นำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ดูแลรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (ตีบ ตัน แตก) อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องตรวจสมองด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computerized tomography scan หรือ CT scan) เครื่องตรวจสมองด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI)รวมถึง RoboDoctor หรือคุณหมอหุ่นยนต์ เอกสิทธิ์เฉพาะของโรงพยาบาลกรุงเทพ ที่ช่วยย่นระยะทางและประหยัดเวลา โดยแพทย์สามารถตรวจรักษาคนไข้ด้วยการบังคับการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ผ่าน Control Station จากโรงพยาบาลต้นทาง ทั้งยังสามารถมองเห็นและพูดคุยกับผู้ป่วย ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทีมแพทย์ได้เสมือนการตรวจรักษาจริง
“การรักษาโรคหลอดเลือดสมองให้ได้ผลจำเป็นที่จะต้องอาศัยทีมที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง อย่างที่ รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล นอกจากเราจะมีระบบเครือข่าย และเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง TeleStroke ผ่าน RoboDoctor การทำ Thrombectomy ที่ต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงระบบ BES การส่งต่อคนไข้ที่เน้นความสำคัญเรื่องเวลาแล้ว ยังมี คลินิกป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Prevention Clinic) ที่สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยโรคสมองได้อย่างครบครัน และถือเป็นโรงพยาบาลชั้นนำอันดับต้นของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน JCI (Joint Commission International) จากสหรัฐอเมริกา” นพ.ชาญพงค์ กล่าวทิ้งท้าย
ผลจากการทุ่มเทงบประมาณเพื่อพัฒนางานบริการ บุคลากร อุปกรณ์ทางการแพทย์ ตลอดจนแผนการรักษา‘โรค หลอดเลือดสมอง’ อย่างต่อเนื่องของศูนย์สมองและระบบประสาท รพ. กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล คือ หลักประกันที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่คนไข้และผู้รับบริการจำนวนมาก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Clinic)