ร่างกายคนเราเป็นเสมือนเครื่องจักรที่ต้องทำงาน 24 ชั่วโมง การนอนก็เหมือนกับให้เครื่องจักรได้หยุดพัก ร่างกายจะอาศัยช่วงเวลานอนหลับซ่อมแซมและพักฟื้นตนเอง เสริมสร้างความจำของสมองและการขับของเสีย พร้อมทั้งสะสมพลังงานไว้ใช้ในวันรุ่งขึ้น การนอนหลับอย่างเพียงพอทั้งระยะเวลาและคุณภาพ จึงเป็นหลักประกันสำคัญต่อการมีสุขภาพกายและใจที่ดี อีกทั้งยังเป็นด่านแรกของการป้องกันโรคด้วย
ช่วงเวลาการนอนหลับ
การนอนหลับในแต่ละช่วงเวลายังมีความสำคัญต่อสุขภาพต่างกัน ได้แก่
- หลับสนิทช่วง 3 ทุ่ม – 5 ทุ่ม ช่วยให้ระบบน้ำเหลืองขับของเสียได้ดีขึ้น พร้อมทั้งเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงขึ้นด้วย
- หลับสนิทช่วง 5 ทุ่ม – ตี 1 : ช่วยให้ตับขับของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระตุ้นให้เซลล์ผิวซ่อมแซมตัวเองและมีการผลัดเซลล์ใหม่เร็วกว่าปกติถึง 8 เท่า
- หลับสนิทช่วงเที่ยงคืน – ตี 4 : ช่วยให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- หลับสนิทช่วงตี 1 – ตี 3 : กระตุ้นให้ถุงน้ำดีขับพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- หลับสนิทช่วงตี 3 – ตี 5 : ส่งเสริมให้ปอดขับพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แบบไหนเรียกว่านอนไม่หลับ
- หลับยาก ใช้เวลามากกว่า 30 นาทียังไม่หลับ
- หลับไม่ลึก
- ฝันบ่อย
- หลับไม่สนิท
- ระยะเวลาการนอนหลับลดลง
- ตื่นบ่อย ตอนกลางคืนตื่นเกินกว่า 2 ครั้งและหลับต่อยาก
- ตื่นเช้าเกิน เมื่อตื่นแล้วรู้สึกไม่สดชื่น รู้สึกตนเองฝันอยู่ทั้งคืน
- ตื่นง่าย มีเสียงรบกวนเพียงนิดเดียวก็ตื่น
- คุณภาพการนอนไม่ดี เวลานอนเพียงพอ แต่ตื่นขึ้นมารู้สึกไม่สดชื่น อ่อนเพลียในวันรุ่งขึ้น
- ง่วงและเพลียเมื่อเวลาทำงาน
- รู้สึกมึน ๆ งง ๆ สมองไม่ปลอดโปร่ง
หากมีอาการดังกล่าวเกิน 1 เดือนให้ถือว่าเป็นอาการนอนไม่หลับชนิดเรื้อรัง ควรหาสาเหตุและรักษาโดยเร็วที่สุด