หน้าหลัก
/ บทความสุขภาพ / โรคและการรักษา /
ปัญหากระดูกและข้อจากรองเท้าส้นสูง

เรื่องความสูงของส้นรองเท้าบางคนแบ่งเพศว่า ชายสูงไม่เกิน 3.5 เซนติเมตร หญิงสูงไม่เกิน 4.5 เซนติเมตร จึงได้มีผู้ทำการศึกษาวิจัยโดยทำการทดลองให้ใส่รองเท้าส้นสูงในขนาดต่าง ๆ กัน แล้วให้เดินสายพานในความเร็วประมาณ 4 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ติดอุปกรณ์ถ่ายภาพความเร็วสูงและศึกษาการทำงานของกล้ามเนื้อ และการขยับของข้อต่าง ๆ  พบว่า ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อรองเท้าส้นสูงเกินกว่า 5 เซนติเมตร หรือ 2 นิ้ว อันนี้เป็นการทดลองในผู้หญิงที่ใส่ส้นสูงประจำครึ่งหนึ่งและใส่ส้นเตี้ยประจำครึ่งหนึ่ง

ดูแลข้อจากส้นสูง

กรณีเกิดการบาดเจ็บของข้อเท้าให้ใช้ความเย็น ซึ่งอาจจะเป็นถุงน้ำแข็งประคบไว้ประมาณ 20 – 30 นาที  ขณะเดียวกันให้ยกขาสูงและลดการใช้งาน สามารถประคบได้บ่อย ๆ 4 – 5 ครั้งต่อวัน หรือทุก 2 ชั่วโมงในวันแรกที่ได้รับบาดเจ็บ ควรประคบต่ออีก 2 – 3 วันแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นความร้อน แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรือกลับแย่ลงให้ปรึกษาแพทย์ ข้อสำคัญ คือ ห้ามนวดหรือห้ามดัดบิดข้อเท้า

ปัญหาจากส้นสูง

จากการสำรวจด้วยแบบสอบถามในต่างประเทศ พบว่า มีสุภาพสตรีที่มีปัญหาเรื่องปวดเท้าประมาณ 80% และ ในจำนวนนี้มีสาเหตุเกี่ยวเนื่องกับรองเท้าส้นสูงถึง 75%  จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า มีผู้มาพบแพทย์ด้วยปัญหาปวดเท้า แต่ในบางรายก็อาจจะเป็นเนื่องจากรูปร่างของเท้าที่ผิดปกติ

 

ส้นสูงเกิน 2 นิ้วจะส่งผลให้เกิดปัญหาตั้งแต่

  • เล็บเท้าขบ
  • หูด ห
  • ตาปลาที่ฝ่าเท้า
  • เส้นประสาทเท้าอักเสบ
  • เอ็นข้อเท้าอักเสบ
  • กล้ามเนื้อน่อง
  • เอ็นร้อยหวายหดรั้ง
  • การบาดเจ็บจากเท้าพลิก
  • นอกจากนี้ยังมีอาการเจ็บเข่าเนื่องจากการเกร็งของเข่าเพื่อทรงตัว ที่สำคัญคือผลถึงกระดูกสันหลังด้วย

การทานอาหารให้ครบหมู่ มีสารอาหารและแคลเซียมเพียงพอ และหมั่นออกกำลังกาย จะทำให้กระดูกแข็งแรง  ทั้งนี้ต้องควบคุม น้ำหนัก วัยไหนก็ไม่เหมาะที่จะใส่โดยเฉพาะเด็กและสตรีมีครรภ์ใส่ส้นสูงไม่เกิน 2 นิ้ว เลือกชนิดที่มีสายรัดบนหลังเท้า  และพื้นรองเท้ากว้างรับกับแผ่นเท้าทั้งหมด วัสดุที่รองเท้าต้องนุ่ม ช่วงเวลาที่ใส่ให้สั้นที่สุด และต้องออกกำลังกายยืดเส้นเอ็นร้อยหวาย และกล้ามเนื้อน่อง