หน้าหลัก
/ เทคโนโลยีของเรา /
O-arm 3D Imaging Navigator and IONM เทคโนโลยีขั้นสูงเพิ่มความปลอดภัย ในการผ่าตัดกระดูกสันหลังแผลเล็ก

O-arm 3D Imaging Navigator 
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 3 มิติโออาร์ม ร่วมกับเครื่องนำวิถี 

นับตั้งแต่ปี 2553 ที่ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลกรุงเทพได้เปิดตัวและเริ่มใช้งาน O-arm and Stealth Navigation System ถือเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่มีการนำร่องใช้งานระบบ Real time Navigation System ช่วยในการผ่าตัดดระดูกสันหลัง และล่าสุดได้นำ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ 3 มิติ O-arm Navigation System รุ่นใหม่ล่าสุดที่มีชื่อว่า “O2” พร้อมระบบผ่าตัดนำวิถีรุ่นล่าสุด Stealth 8 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีช่วยเสริมความปลอดภัยในการผ่าตัดกระดูกสันหลังที่ให้ภาพคมชัด มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพในการประมวลผลขั้นสูง ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความปลอดภัยในการผ่าตัดกระดูกสันหลังได้ดียิ่งขึ้น 

IIHL-Advances in technologies and minimally invasive surgery

โดยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติโออาร์ม (O-arm) จะบันทึกภาพเอกซเรย์ 360 องศาของกระดูกสันหลังทั้งแนวตั้ง แนวนอน ภาพตัดขวาง ส่งต่อข้อมูลไปยังระบบนำวิถีสามมิติ สามารถให้ภาพแบบ Real Time ขณะศัลยแพทย์กำลังผ่าตัด เพื่อแสดงภาพกระดูกสันหลังแบบละเอียดชัดเจนในรูปแบบสามมิติ ทำให้ศัลยแพทย์ประเมินระยะที่สามารถเข้าถึงตำแหน่งผ่าตัดได้ระดับมิลลิเมตร ทำให้ผ่าตัดได้ตรงตำแหน่งที่ต้องการ โดยไม่จำเป็นต้องเปิดแผลใหญ่ สามารถใส่โลหะได้อย่างราบรื่น แม้กระดูกสันหลังจะผิดรูปรุนแรง ก่อนจะทำการสแกนตรวจสอบอีกครั้งก่อนเย็บแผล 


ข้อดีของ O-arm 3D Imaging Navigator

  • เพิ่มความแม่นยำและความปลอดภัยในการผ่าตัด
  • ผ่าตัดกระดูกสันหลังได้ในเวลารวดเร็ว
  • แผลเล็ก เสียเลือดน้อย เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว
  • ลดปริมาณการได้รับรังสี
  • ลดอัตราการผ่าตัดซ้ำ เพื่อแก้ไขตำแหน่งของโลหะ
  • ลดความเสี่ยงในการผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดกระดูกสันหลังคดผิดรูป ซึ่งเป็นภาวะผิดปกติที่การผ่าตัดด้วยตาเปล่ามีความเสี่ยงสูง อาจเกิดอัมพาตจากการใส่สกรูผิดตำแหน่ง 

IntraOperative NeuroMonitoring – IONM
เครื่องติดตามการทำงานของระบบประสาทและไขสันหลังขณะผ่าตัด 

มีความสำคัญต่อการผ่าตัดกระดูกสันหลังแผลเล็ก เพราะจะติดตามการทำงานของระบบประสาทและไขสันหลังในระหว่างผ่าตัด โดยใช้เทคนิคทางด้านประสาทสรีรวิทยา ซึ่งเกิดจากการตอบสนองของระบบประสาททางด้านไฟฟ้า ช่วยลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บต่อระบบประสาทและไขสันหลังขณะผ่าตัด

IIHL-Advances in technologies and minimally invasive surgery

โดยเฉพาะผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดที่ซับซ้อน เช่น การผ่าตัดแก้ไขภาวะกระดูกสันหลังคด มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยเฉพาะการบาดเจ็บของไขสันหลัง  แม้แต่ในมือของผู้ชำนาญการ โดยสาเหตุที่อาจคาดไม่ถึง เช่น ในขณะดัดกระดูกที่คดให้กลับมาอยู่ในแนวตรง อาจมีการหยุดทำงานของไขสันหลังได้ โดยที่ตาเปล่ามองไม่เห็นความผิดปกติ การใช้เครื่องมือติดตามการทำงานของระบบประสาท (IONM) ตรวจการทำงานของไขสันหลังระหว่างการผ่าตัด ช่วยทำให้การผ่าตัดมีความปลอดภัยมากขึ้น 

สิ่งสำคัญคือ การป้องกันและรักษากระดูกสันหลังให้แข็งแรง ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล พร้อมให้การรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหากระดูกสันหลังทุกรูปแบบ ด้วยเทคนิคการรักษาแผลเล็กแบบใหม่และเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพทันสมัย ภายใต้มาตรฐานการรักษาระดับสากลจาก Joint Commission International (JCI) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยให้ดีขึ้น