ศูนย์สมองและระบบประสาท
สมองและระบบประสาทมีโครงสร้างที่ซับซ้อน ทำหน้าที่ควบคุมกลไกต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหว การรับความรู้สึก การคิด การจดจำ รวมถึงการแสดงออกด้านต่าง ๆ ของร่างกาย หากเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับสมองและระบบประสาทจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และทันท่วงทีดูเพิ่มเติม
Center of Excellence
สมองและระบบประสาทมีโครงสร้างที่ซับซ้อน ทำหน้าที่ควบคุมกลไกต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหว การรับความรู้สึก การคิด การจดจำ รวมถึงการแสดงออกด้านต่าง ๆ ของร่างกาย หากเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับสมองและระบบประสาทจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และทันท่วงที
Scope of Service
ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล พร้อมดูแลรักษาทุกปัญหาที่เกี่ยวกับสมอง และระบบประสาท โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางด้านสมองและระบบประสาท รวมถึงแพทย์สหสาขาวิชาด้านอื่น ๆ พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบำบัด นักโภชนาการที่มีความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยโรคสมองและระบบประสาท พร้อมด้วยเครื่องมือ เทคโนโลยี และวิธีการรักษาที่ทันสมัย โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการรักษาที่ต้นเหตุและป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ ร่วมกับการฟื้นฟูสมองโดยคำนึงถึงผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
บริการของศูนย์สมองและระบบประสาท ครอบคลุม
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคปวดศีรษะ
- โรคลมชัก
- โรคเกี่ยวกับการนอนหลับที่ผิดปกติ
- โรคพาร์กินสันและการเคลื่อนไหวผิดปกติ
- โรคเกี่ยวข้องกับความจำ เช่น อัลไซเมอร์
- เนื้องอกในสมอง
- ศัลยกรรมประสาทและโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ
Service Highlights
- มาตรฐานการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Primary Stroke Care) ระดับสากลที่รับรองโดย JCI (Joint Commission International) จากประเทศสหรัฐอเมริกา
- Sleep Lab (Polysomnography) ประเมินหาสาเหตุการนอนหลับที่ผิดปกติ
- เครื่อง Actigraphy เครื่องมือจับวัดการเคลื่อนไหวติดตามพฤติกรรมคนไข้ขณะนอนหลับ
- เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกชนิดต่อเนื่อง หรือ CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) ปรับความดันลมเพื่อให้ทางเดินหายใจส่วนต้นเปิดขยายตัวไม่ให้มีการอุดกั้นขณะที่นอนหลับ ลดอาการกรนและหยุดหายใจขณะหลับ
- เทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยโรคทางสมอง เช่น อัลตราซาวนด์ด้วยคลื่นความถี่สูงหลอดเลือดที่บริเวณคอ (Carotid Duplex Scan) การตรวจคลื่นสมองไฟฟ้า (EEG: Electroencephalography) การตรวจเอกซเรย์สมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI: Magnetic Resomnance Imaging) โดยติดอุปกรณ์คลื่นไฟฟ้าสมอง (Head Box) การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG – fMRI) หน่วยมอนิเตอร์คลื่นสมองเพื่อวินิจฉัยโรคลมชัก EMU (Epilepsy Monitoring Units) การตรวจด้วยเครื่อง SPECT Scan (Single Photon Emission Topography) และ PET/CT (Positron Emission Tomography – Computed Tomography) ที่ระบุตำแหน่งจุดกำเนิดการชักในสมองได้ชัดเจนมากขึ้น
- การรักษาด้วยเทคนิคต่าง ๆ เช่น การใช้ไฟฟ้ากระตุ้นระบบประสาท การผ่าตัดสมองแบบแผลเล็กโดยที่ไม่ต้องเปิดกะโหลก เทคนิคการผ่าตัดสมองด้วยเทคนิคนำวิถี (Stereotactic Neurosurgery) เป็นต้น